ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการเลือกซื้อประกันชีวิต 4

ผลการประเมินระบบ

  1. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการเลือกแผนประกันชีวิต ดังแสดงปรากฏในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ผลการประเมินคุณภาพระบบของผู้ใช้โปรแกรม

รายละเอียดค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
1. ระบบสามารถติดต่อกับผู้ใช้งาน4.460.59
2. ความถูกต้องของระบบ4.300.71
3. ด้านการประมวลผล4.200.62
4. ด้านการรักษาความปลอดภัยของระบบ4.350.55
5. Graphic User Interface4.330.70
ภาพรวมของระบบ4.350.63

จากตารางที่ 1 ผลของแบบประเมินความพึงพอใจของระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการเลือกแผนประกันโดยผูhใชhงานระบบ ผลการตอบสนองที่ไดhแสดงใหhเห็นวjา เมื่อนำค่าเฉลี่ยของแต่ละหัวข้อมาประมวลผลข้อมูลทางสถิติเพื่อหาคjาเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) จะพบว่าค่าเฉลี่ยที่ได อยู่ที่ 4.35 และค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานท่ากับ 0.63 ดังนั้นระบบที่ได้พัฒนาขึ้น มีความพึงพอใจของระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการเลือกแผนประกันชีวิต อยู่ในระดับดี

ผลการประเมินระบบด้านต่างๆ ของผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ด้านมีความรู้ทางด้านประกัน จํานวน 5 ท่านเพื่อประเมินหาประสิทธิภาพของระบบที่ได้พัฒนาขึ้น แสดงไว้ดังตารางที่ 2: ผลการประเมินคุณภาพระบบด้านการทํางานตามหน้าที่ของระบบ

ตารางที่ 2 ผลการประเมินคุณภาพระบบของผู้เชี่ยวชาญ

หัวข้อค่าเฉลี่ยค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานความหมาย
1.ความสามารถของระบบในการแสดงข้อมูลตามเงื่อนไขที่ระบุ4.500.50ดีมาก
2.ความสามารถในการเพิ่มข้อมูลลงฐานข้อมูล4.700.57ดีมาก
3. ความสามารถในการลบข้อมูล4.500.50ดีมาก
4.ความสามารถในการปรับปรุงข้อมูล4.500.50ดีมาก
5.ความสามารถในการสนับสนุนการตัดสินใจเลือกแผนประกันชีวิต4.250.50ดี
6.ความสามารถในการแสดงข้อมูลผู้ใช้งานระบบ4.250.50ดี
รวม4.450.51ดีมาก

จากตารางที่ 2 ผลการประเมินระบบด้านความสามารถในการทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ จะเห็นว่าเมื่อนำค่าเฉลี่ยของแต่ละหัวข้อมาผ่านกระบวนการทางสถิติเพื่อหาค่าเฉลี่ยและค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จะพบว่า ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.45 และมีค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.51 ส่งผลให้เห็นว่าประสิทธิภาพในด้านความสามารถทํางานตามความต้องการของผู้ใช้งานอยู่ในระดับดีมาก

สรุปและอภิปรายผล

          ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตที่พัฒนาขึ้น โดยใช้เทคนิคแบบ Rule Based มาช่วยในการพัฒนาระบบ ซึ่งผลการพัฒนาระบบออกมาอยู่ในระดับ สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง

เอกสารอ้างอิง

กิตติพงษ์ ปาลี. (2550). ความหมายของการทำประกันชีวิต. สำนักงานเศรษฐกิจการคลังกระทรวงการคลัง.

กาญจนา ศรีหมอก. (2549). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกทำประกันชีวิตของพนักงานธนาคารในจังหวัดชัยนาท. การค้นคว้าแบบอิสระ. (เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นพินดา หาญจริง. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตของผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต. (เศรษฐศาสตร์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุษรา อึ๊งภากรณ์. (2557). เบี้ยประกันชีวิตรับรวมของบริษัทประกันชีวิตทั้ง 24 บริษัทในประเทศ-ไทย ตลอดทั้งปี 2556.  สมาคมประกันชีวิตไทย.

เพ็ญศรี วรรณสุข. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำประกันชีวิตของลูกค้า บริษัทเนชั่นไวด์ประกันชีวิต จำกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ บธ.บ. การจัดการ. สถาบันราชภัฏพระนคร.

โอภาส เอี่ยมสิ ริวงศ์. (2548). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analysis and Design) ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชัน. 413 หน้า.

อมตา  สมานโสร์, (2556). ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเลือกแผนประกัน. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Bidgoil, Hossein. (1989). Decision Support System: Principles and Practice, West Publishing Company.

Turban,Aronson. (2001). Decision Support Systems and Intelligent Systems (7th Edition). Publisher Prentice-Hall, Inc. Upper Saddle River.