JD-R model

JD-R model แบ่งปัจจัยในสภาพแวดล้อมการทำงานออกเป็นสองกลุ่มได้แก่ ภาระงาน (Job Demands) และ ทรัพยากรที่มีให้ใช้ในการทํางาน (Job Resources) โดยทรัพยากรที่มีให้ใช้ในการทำงานเป็นปัจจัยเชิงบวกที่มีผลต่อความผูกพันขององค์กร ทั้งนี้ทรัพยากรอาจมาจากโครงสร้างองค์กร ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความสัมพันธ์ทางสังคม และ มาจากโครงสรร้างงาน เช่นความชัดเจนของบทบาทและการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เป็นต้น ในขณะที่ภาระงานเป็นปัจจัยเชิงลบ กล่าวคือในการทำงานให้สำเร็จลุล่วงจะต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง ทั้งนี้ระดับความผูกพันของบุคลากรในองค์กรจะลดลงเมื่อภาระงานมีมากกว่าทรัพยากรที่องค์กรนั้นๆมี

ต่อมา JD-R model ได้ขยายไปครอบคลุมคุณสมบัติส่วนตัวของ บุคคล (personal resource) ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละคน เช่น ศักยภาพของตนเอง (self-efficacy), การมองโลกในแง่ดี(optimism), และความนับถือคุณค่าของตนที่มีต่อองค์กร(self-esteem) เชื่อกันว่า คุณสมบติส่วนตัวของบุคคลได้รับแรงกระตุ้นมาจาก ทรัพยากรงานและเชื่อมโยงไปถึงความรู้สึกผูกพันในงานด้วย