การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศ

กระทรวงอุตสาหกรรม (2559, น. 7-15) การพัฒนาประเทศให้หลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง แล้วก้าวไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูงนั้น จำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอันเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต และเป็นอุตสาหกรรมที่มีการพัฒนาในด้านความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมต่างๆ โดยปกติแล้วเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ จะมีวงจรชีวิตของนวัตกรรม (Innovation Lifecycle) ซึ่งอธิบายได้ด้วยกราฟเส้นโค้งรูปตัวเอส หรือ S-curve โดยเป็นกราฟแสดงการเติบโตของ เทคโนโลยี ที่ใช้อธิบายถึงประสิทธิภาพและความประหยัดต้นทุนของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลาที่ผ่านไป ในระยะแรกที่เทคโนโลยีเพิ่งได้รับการคิดค้นขึ้นมาใหม่นั้น เทคโนโลยีดังกล่าวยังต้องการการ ปรับปรุงประสิทธิภาพหลายอย่างซึ่งต้องใช้ทั้งเงินลงทุนและเวลา เมื่อพัฒนาต่อไป ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีก็จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนถึงจุดที่เทคโนโลยีเริ่มมีการอิ่มตัว ซึ่งองค์กรต้องแสวงหานวัตกรรม เทคโนโลยีใหม่ หรือ S-curve…

Continue Readingการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศ

อุตสาหกรรม 4.0

อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) หรือยุคของอุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital Industry) ที่มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจด้วยระบบดิจิทัลและการผลิตด้วยระบบอัจฉริยะ หรือระบบอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงสิ่งของต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน (Internet of Things: IOT) มีการใช้โปรแกรมควบคุม หุ่นยนต์ หรือแขนกลทดแทนแรงงานมนุษย์ เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลหรือการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบดิจิทัล (Digital Transformation) และอินเทอร์เน็ต มาใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ธนิต โสรัตน์ (2559) กล่าวว่า อุตสาหกรรม 4.0 ปรากฏเป็นครั้งแรกอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20…

Continue Readingอุตสาหกรรม 4.0

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

Daniel (1961, pp. 111-121) ใช้ปัจจัยแห่งความสำเร็จเป็นเครื่องมือในการจัดการด้านธุรกิจภายใต้วิกฤติโดยเขียนลงในบทความเรื่อง “Management Information Crisis” ตีพิมพ์ในวารสาร Harvard Business Review ในปี 1961 ซึ่งถือเป็นนักวิชาการคนแรกที่เสนอแนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยแห่งความสำเร็จ (CSFs) จากการวิเคราะห์ธุรกิจได้ชี้ว่า การมีข่าวสารข้อมูลมากเกินไปโดยปราศจากการเน้นปัจจัยสำคัญ จะทำให้ฝ่ายจัดการเสียเวลาในการวิเคราะห์และผลที่ได้ยังนำไปสู่ข้อสรุปทางการตลาดที่ผิดพลาดอีกด้วย และในที่สุดก็จะนำไปสู่การลดขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์การ การลดภาระจากการรวบรวม วิเคราะห์ และตัดสินใจ ทางธุรกิจบนข้อมูลต่างๆ ทำให้ Daniel ได้กำหนดปัจจัยสำคัญที่จำเป็นเพื่อมากำหนดว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จของธุรกิจปัจจัยใดบ้างที่อยู่ในการควบคุมขององค์กรและปัจจัยใดเป็นปัจจัยภายนอก ซึ่งจำเป็นที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือภาครัฐต้องสร้างความร่วมมือระหว่างสมาชิกของธุรกิจในการแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปได้ Daniel…

Continue Readingปัจจัยแห่งความสำเร็จ