The Importance of Planning

The Importance of Planning: ความสำคัญของการวางแผน การวางแผนมีเพื่อลดความไม่แน่นอนลงหรือลดความเสี่ยงของสถานการณ์ให้เหลือน้อยที่สุด หากสถานการณ์ต่างๆ ในโลกมีความแน่นอนก็ไม่จำเป็นต้องมีการวางแผน อยากจะทำอะไรก็ได้และก็ประสบผลสำเร็จตามความต้องการนั้น แต่เพราะสถานการณ์ต่างๆ ไม่มีความแน่นอนหรือมีความเสี่ยงจึงต้องมีการวางแผน ด้วยเหตุนี้ ความสำคัญของการวางแผนอาจพิจารณาได้ใน 3 ระดับ ดังนี้ 1. ความสำคัญในระดับชาติและสังคม สังคมและประเทศชาติโดยรวมจำเป็นต้องอาศัยการวางแผนจัดระเบียบกิจกรรมในสังคม ทั้งนี้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดในประเทศให้สนองความต้องการแก่สังคมอย่างถ้วนหน้าและเป็นธรรม การวางแผนที่ดีจะช่วยทำให้บรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของคนในสังคมลงได้ ลักษณะของแผนในระดับชาติ  เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเป็นแผนที่กำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ เพื่อระบุถึงเป้าหมายที่ประเทศต้องการมุ่งไปให้ถึง 2. ความสำคัญระดับองค์การ ทุกองค์การมุ่งหวังที่จะอยู่ให้รอดและสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองไปตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก…

Continue ReadingThe Importance of Planning

The Typology of Planning

The Typology of Planning: ประเภทของการวางแผน ในการวางแผนนั้นมีประเภทของการวางแผนหลายประเภทซึ่งมีผลต่อการออกแบบที่เหมาะสม โดยสามารถจำแนกประเภทสำคัญของการวางแผนซึ่งสามารถพิจารณาได้ ดังนี้ 1. การจำแนกแผนตามระยะเวลา ซึ่งนิยมแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้  1.1 แผนระยะสั้น (Short–Range Planning) คือ แผนที่มีการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินงานที่ใช้เวลาน้อยกว่า 1 ปี แผนระยะสั้นจะเป็นแผนที่มีการกำหนดรายละเอียดของงานหรือกิจกรรมไว้อย่างละเอียด เกี่ยวกับเวลาที่จะต้องใช้ในการดำเนินงาน ได้แก่ เวลาที่เริ่มต้นและสิ้นสุด  จำนวนคน จำนวนงบประมาณ ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ที่จะต้องมีการจัดลำดับในการดำเนินกิจกรรมว่าจะดำเนินกิจกรรมใดก่อน-หลัง…

Continue ReadingThe Typology of Planning

The Dimension of Planning

The Dimension of Planning: มิติของการวางแผน การวางแผนมีหลายมิติที่ต้องคำนึงถึง ซึ่งหากสามารถพิจารณาได้ครอบคลุมในมิติต่างๆได้มากก็มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นการวางแผนที่มีความรอบคอบได้มากขึ้น โดยมิติของการวางแผนที่สำคัญนั้นสามารถพิจารณาในมิติที่สำคัญได้ ดังนี้ 1. มิติด้านการมุ่งสู่เป้าหมาย (Purposive) กล่าวคือ แผนและการวางแผนจะต้องแสดงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ และเป้าหมายเป็นเครื่องกระตุ้นให้เกิดการกระทำขึ้น (Goals Stimulus Action) วัตถุประสงค์จะต้องแสดงให้เห็นทั้งในลักษณะคุณภาพ (Qualitative) และลักษณะเชิงปริมาณ (Quantitative) นอกจากนี้จะต้องเรียงลำดับความสำคัญของวัตถุประสงค์ไว้ด้วย 2. มิติด้านการมุ่งให้เกิดการกระทำ (Action Oriented) เนื่องจากการวางแผนไม่ใช่เป็นสภาพที่หยุดนิ่งหรือเป็นเพียงจุดหมายปลายทางเท่านั้น แต่จะต้องเกี่ยวข้องกับการกระทำหรือต้องนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุจุดหมาย วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดขึ้นโดยปราศจากแนวทางปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลเป็นเพียงการคาดการณ์หรือการคาดหวัง…

Continue ReadingThe Dimension of Planning