จริยธรรมของผู้เสียภาษีอากร

จริยธรรม (ethics) มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 คือ “ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม. โดยเป็นการประพฤติที่ดีเพื่อประโยชน์ของตนเองและสังคม” หากเริ่มต้นจากตัวเราที่มีจริยธรรม ประชาชนรู้หน้าที่ของตนและหน้าที่พลเมือง ประพฤติตัวที่ดีก็จะส่งผลต่อการสร้างความเจริญก้าวหน้าในภาพรวมของประเทศ จริยธรรมของผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร คือการเข้าใจถึงหน้าที่พลเรือนโดยการชำระภาษีให้แก่ภาครัฐ เพื่อนำเงินดังกล่าวไปพัฒนาบริหารประเทศที่จะส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อภาพรวมของสังคม โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีทำการยื่นแบบแสดงรายการการเสียภาษีตามความเป็นจริงอย่างครบถ้วนตามช่วงเวลาของภาษีแต่ละประเภทที่ตนเองอยู่ในข่ายการเสียภาษีประเภทนั้นๆ อย่างไรก็ตามการหนีภาษีหรือการหลีกเลี่ยงภาษี (Tax evasion) เป็นการใช้วิธีการผิดกฎหมายเพื่อทำให้เกิดการเสียภาษีมีจำนวนเงินที่ต้องจ่ายชำระน้อยลงหรือไม่ต้องจ่ายชำระ (ปรัชญา ปิ่นมณี, 2554) อีกทั้ง เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม (2552) อ้างข้อมูลกรมสรรพากรในกรณีของประเทศไทยมีการหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นจำนวนมาก…

Continue Readingจริยธรรมของผู้เสียภาษีอากร

Mixed method

มุมมองในการพิจารณาสิ่งเดียวกัน มีความแตกต่าง ขึ้นอยู่กับรากฐานความเชื่อที่มีอยู่ของแต่ละบุคคลเช่นเดียวกับงานวิจัยที่มีหัวข้อที่สนใจเรื่องเดียวกัน แต่มีกระบวนการทำวิจัยและการเก็บข้อมูลที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับมุมมองหรือกระบวนทัศน์ของผู้วิจัย เรียกว่า research paradigm โดยเมื่อพิจารณามุมมองสามารถแบ่งเป็นสองฝ่าย คือ 1) Objectivism มองว่าสิ่งที่สนใจเป็นความจริง ความรู้ ที่มีอยู่ ซึ่งไม่ว่าผู้ใดมองก็จะเห็นความจริงนั้นที่เหมือนกัน อาทิ ตัวเลขทางการเงิน เป็นต้น โดยไม่มีการตีความ ผู้วิจัยทำหน้าที่ศึกษาและรายงานตามสิ่งที่เป็น ดังนั้นตัวอย่างงานวิจัยในกลุ่มนี้จึงเป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative) คำถามในงานวิจัย อาทิ อัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ส่งผลต่อโอกาสในการเกิดการล้มละลายของกิจการหรือไม่ โดยการศึกษาจะนำทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาเป็นฐานและทำการเก็บข้อมูลเพื่อพิสูจน์คำถามการวิจัยดังกล่าวในขณะที่ 2) Constructivism มองว่าความจริงเป็นสิ่งที่สังคมสร้างขึ้นมา…

Continue ReadingMixed method

ประมวลจรรยาบรรณ

ลักษณะของประมวลจรรยาบรรณวิชาชีพตรวจสอบภายใน (Code of Ethical) โดยคำว่า จรรยาบรรณ มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ระบุว่า “ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้” และคำว่า วิชาชีพ หมายถึง “วิชาที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ”ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า จรรยาบรรณวิชาชีพ คือ ประมวลที่กำหนดในเรื่องของความพระพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพนั้นๆ เพื่อให้เกิดการรักษา ส่งเสริมวิชาชีพ โดยประมวลอาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร สำหรับวิชาชีพตรวจสอบภายใน กำหนดโดยสมาคมผู้ตรวจสอบภายในสากล (The Institute of Internal…

Continue Readingประมวลจรรยาบรรณ