ความหมายของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เป็นแนวความคิดของนักประสาทวิทยาและนักการศึกษา กลุ่มหนึ่ง ที่สนใจการทำงานของสมองมาประสานกับการจัดการศึกษา โดยนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสมองมาใช้เป็นเครื่องมือในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของมนุษย์แต่ละช่วงวัย สมองมนุษย์เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดที่มนุษย์ต้องใช้ในการเรียนรู้ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญหรือนักวิชาการต่างได้ให้นิยาม หรือแนวทางที่แตกต่างกัน ดังนี้
เคน และเคน (Caine and Caine. 1989 : Web Site) อธิบายว่า การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่อยู่บนพื้นฐานของโครงสร้างและหน้าที่การทำงานของสมองหากสมองยังปฏิบัติตามกระบวนการทำงานปกติการเรียนรู้ก็ยังจะเกิดขึ้นต่อไป ทฤษฎีนี้เป็นสหวิทยาการเพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุดซึ่งมาจากงานวิจัยทางประสาทวิทยา
อีริก (Eric Jensen. 2000) กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดการเชื่อมต่อไปยังสมอง ไม่ว่าจะทางใดก็ตาม ถือเป็นการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน โดยเป็นการรวมสหวิทยาการต่าง ๆ เช่น เคมี ชีวิวิทยา ระบบประสาทวิทยา จิตวิทยาสังคมวิทยา มาอธิบายกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยเฉพาะความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้กับสมอง เพราะการเรียนรู้บนฐานสมองไม่ได้มุ่งเน้นการออกแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมอง หรือทาอย่างไรให้สมองเจริญเติบโต แต่หัวใจสำคัญของการเรียนรู้บนฐานสมองอยู่ที่จะออกแบบการเรียนการสอนอย่างไรให้สมองสามารถเรียนรู้ได้ดีที่สุด
เรเนต นัมเมลา เคน และ จอฟฟรี่ เคน (Renate Nummela Caine and Geoffrey Caine) ได้ให้ความหมายการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ว่า เป็นการที่ผู้เรียนได้รับประสบการที่หลากหลาย ทั้งที่เป็นจริงและวาดฝัน และหาวิธีการต่าง ๆ ในการรับประสบการณ์เข้ามา ซึ่งหมายรวมถึงการสะท้อนความคิด การคิดวิจารณญาณและการแสดงออกในเชิงศิลปะซึ่งเป็นการสรุปความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ (เยาวพา เดชะคุปต์. 2548 : 36 ; อ้างอิงมาจาก Renate Nummela Caine and Geoffrey Caine. 1990 : 66-70)
สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน หมายถึง แนวการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักการของสมองกับการเรียนรู้ การเรียนรู้ต้องใช้ทุกส่วนทั้งการคิด ความรู้สึกและการลงมือปฏิบัติไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งเป็นการสรุปความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้
การพัฒนาเรียนของสมอง ด้วยแนวคิด Brain Based Learning ประกอบด้วย 12 หลักการ
- สมองมีการเรียนรู้แบบ Parallel Processor
การคิดเป็นภาพของสมอง
การวางผังความคิด
การเรียนรู้การเคลื่อนไหว ประสานงานของกาย
2. การเรียนรู้เกี่ยวกับสรีระวิทยา
Input -> Process -> Output
3. การค้นหาความหมายซึ่งเป็นมาตั้งแต่กำเนิด
เกิดจากการใฝ่รู้ สังเกต ตั้งคำถาม
4. การค้นหาความหมายเป็นการสังเกตรูปแบบ
5. อารมณ์ความรู้สึกมีความสำคัญกับการวางรูปแบบ จำเป็นต้องมีอารมณ์ที่พร้อมจะเรียนรู้
6. สมองมีการดำเนินการสองส่วนพร้อมกัน
7. การเรียนรู้เกี่ยวกับการมุ่งความสนใจ และการรับรู้รอบตัว
8. การเรียนรู้มีทั้งจิตสำนึกและใต้สำนึก
จิตสำนึกเกี่ยวข้องกับอาตยนะทั้งห้า
จิตใต้สำนึกเกี่ยวกับความรู้สึก ความนึกคิด และความทรงจำ
9. การสร้างความจำเกิดจากการจำทางตรงแลลตั้งใจจำ และการจำทางอ้อมจากจินตนาการ
10. เราเข้าใจและจำข้อเท็จจริงและทักษะที่เกี่ยวกับความทรงจำ
11. การเรียนซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นจากความท้าทายและอุปสรรค
12. สมองมีการจัดการที่เป็นเอกลักษณ์ โดยมนุษย์มีสไตล์การเรียนรู้มี 4 รูปแบบ (VARK Learning Style)
- Visual learning – เรียนรู้ได้ดีจากการเห็นภาพประกอบและสื่อทางสายตาต่างๆ
- Auditory Learning – เรียนรู้ได้ดีจากการฟังและสื่อทางเสียงต่างๆ
- Reading & Writing Learning – เรียนรู้ได้ดีจากการอ่านและเขียนในรูปแบบต่างๆ
- Kinesthetic Learning – เรียนรู้ได้ดีจากการใช้ประสาทสัมผัสทางกายและการลงมือปฏิบัติที่จับต้องได้