แนวทางการสร้างความปลอดภัยของบุคลากรสายการบินต้นทุนต่ำภายหลังจากโรคระบาดโควิด-19

จากการทำวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายการบินต้นทุนต่ำภายหลังการระบาดของโรคโควิด-19 ผู้จัยได้พบแนวทางการสร้างความปลอดภัยดังนี้  1. การดูแลสุขภาพ บุคลากรควรปรับตัวตามกระบวนการทำงานตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ควรมีการตรวจ ATK ทุกครั้งก่อนไปทำงาน โดยแจก ATK สัปดาห์ละครั้ง ถ้าพบว่าติดโควิด-19 ก็แก้สถานการณ์เฉพาะหน้า ดูแลสุขภาพไปตามขั้นตอน สายการบินควรหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคระบาดมอบให้กับพนักงาน เช่น หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ ถุงมือ เป็นต้น รวมถึงการประกันชีวิตให้กับพนักงาน 2. การสร้างความมั่นใจ ผู้บริหารต้องพูดและประชุมพนักงานช่วยสร้างความมั่นใจในงาน นำข่าวสารไปแจ้งกับผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ทุกคนมีสติ และช่วยกันแก้ปัญหา 3. การสื่อสารกันมากขึ้นด้วยความจริงใจ…

Continue Readingแนวทางการสร้างความปลอดภัยของบุคลากรสายการบินต้นทุนต่ำภายหลังจากโรคระบาดโควิด-19

สถานการณ์ธุรกิจโลจิสติกส์ไทย เดือนกรกฎาคม 2566

การพัฒนาโลจิสติกส์ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานที่มุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ในปี 2579 โดยการยกระดับศักยภาพโลจิสติกส์ทั้งระบบ และเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจบริการโลจิสติกส์ ผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางของโลจิสติกส์ในอนุภูมิภาคและภูมิภาคอาเซียน มุ่งสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูงและพร้อมเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2579 นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานในภาคขนส่งที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมุ่งเน้นให้ต้นทุนระบบโลจิสติกส์ของประเทศอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ในระดับสากล โดยคาดว่าในปี 2566 ภาคโลจิสติกส์ของไทยจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยเรื่องการผ่อนปรนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก ประกอบกับการส่งออกสินค้าที่ขยายตัว รวมถึงธุรกิจ e-Commerce ที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องเพิ่มทางเศรษฐกิจในกิจกรรมโลจิสติกส์และธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ของประเทศไทยในภาพรวม อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมสถานการณ์ธุรกิจโลจิสติกส์ไทย เดือนกรกฎาคม 2566 เป็นดังนี้ ธุรกิจโลจิสติกส์มีจำนวนนิติบุคคลรวม 41,442 ราย…

Continue Readingสถานการณ์ธุรกิจโลจิสติกส์ไทย เดือนกรกฎาคม 2566

ภาษีคาร์บอน Carbon Tax คืออะไร ช่วยลดโลกร้อนได้อย่างไร

ภาษีคาร์บอน Carbon Tax เป็นค่าธรรมเนียมหรือภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากการผลิต การจำหน่าย หรือใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมัน ก๊าชธรรมชาติ หรือ ถ่านหิน ซึ่งเมื่อเผาไหม้เชื้อเพลิงพวกนี้แล้วจะทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์และถูกปลดปล่อยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก การเรียกเก็บภาษีหรือค่าธรรมเนียมนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณของก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาในแต่ละครั้งของการดำเนินกิจกรรมของโรงงาน โรงไฟฟ้า และยานยนต์ต่างๆ ภาษีคาร์บอน Carbon Tax ทำงานอย่างไร โดยพื้นฐานแล้วภาษีคาร์บอนเป็นภาษีที่เกี่ยวข้องกับมลพิษ โรงงานหรือบริษัทใดผลิตคาร์บอนไดออกไซด์มากก็ต้องจ่ายภาษีมาก โดยอาศัยหลักการทางเศรษฐศาสตร์เรื่อง ผลกระทบภายนอกในเชิงลบ Negative Externality หมายถึง ผลกระทบต่อกลุ่มบุคคลที่ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกรรมทางเศรษฐศาสตร์ เช่น ผลกระทบต่อชุมชนซึ่งเกิดจากการก่อมลภาวะของโรงงาน ซึ่งส่วนมากยังไม่ได้รวมเอาต้นทุนส่วนนี้เข้าไปในการคิดต้นทุนรวมของธุรกรรม…

Continue Readingภาษีคาร์บอน Carbon Tax คืออะไร ช่วยลดโลกร้อนได้อย่างไร