การกำหนดหัวข้อการวิจัยด้านการท่องเที่ยว

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

นักวิชาการมีแนวคิดและมุมมองที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการวิจัยด้านการท่องเที่ยวที่หลากหลายและแตกต่างกัน แต่มีหลักการที่สำคัญในการกำหนดและเลือกหัวข้อการวิจัยด้านการท่องเที่ยวที่จะต้องพิจารณา ดังนี้ 1. หัวข้อการวิจัยด้านการท่องเที่ยวที่เป็นประโยชน์ เป็นเรื่องแรกที่ผู้วิจัยต้องคำนึงถึงเพราะงานวิจัยที่ทำแล้วไม่เป็นประโยชน์ก็ไม่สมควรนำมาเป็นหัวข้องานวิจัย การพิจารณาว่าเป็นประโยชน์หรือไม่จะพิจารณาจากประเด็นที่สำคัญ คือ 1.1 หัวข้อการวิจัยด้านการท่องเที่ยวที่นำไปใช้แก้ไขปัญหาได้ ผู้วิจัยด้านการท่องเที่ยวจะต้องพิจารณาว่าหัวข้อวิจัยนั้นมีประเด็นปัญหาอะไร และเมื่อดำเนินการวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว ผลของงานวิจัยสามารถนำไปใช้แก้ไขปัญหาหรือบรรเทาปัญหานั้นได้หรือไม่ นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังต้องพิจารณาว่างานวิจัยที่ทำขึ้นนั้นจะนำไปเสนอให้ใคร หรือบุคคลที่แก้ปัญหาได้นั้นเป็นใคร อยู่ในขอบเขตภาระหน้าที่ที่ผู้นั้นรับผิดชอบอยู่หรือไม่  1.2 หัวข้อการวิจัยด้านการท่องเที่ยวที่มีประเด็นน่าสนใจ งานวิจัยด้านการท่องเที่ยวที่มีประเด็นที่น่าสนใจย่อมทำให้คนส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์ ดังนั้นผู้วิจัยควรเลือกหัวข้อวิจัยที่มีประเด็นปัญหาอยู่ในความสนใจของคนทั่วไปในขณะนั้น หัวข้อวิจัยบางเรื่องถึงแม้จะมีประเด็นปัญหาอยู่ก็จริง แต่ถ้าปัญหาดังกล่าวไม่น่าสนใจหรือไม่ใช่ปัญหาที่สำคัญก็ไม่สมควรเลือกเป็นหัวข้องานวิจัย 1.3 หัวข้อการวิจัยด้านการท่องเที่ยวที่เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม งานวิจัยด้านการท่องเที่ยวถือเป็นส่วนหนึ่งของผลงานทางวิชาการที่ต้องมีการเผยแพร่สู่สาธารณชนทั่วไป ถ้าประโยชน์ของงานวิจัยนั้นเป็นประโยชน์เฉพาะตัวผู้วิจัยย่อมไม่คุ้มค่ากับการทำวิจัย ยกเว้นการวิจัยเฉพาะบุคคลหรือหน่วยงาน เช่น การวิจัยตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวที่เจ้าของผลิตภัณฑ์ต้องการนำผลวิจัยไปปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเอง…

Continue Readingการกำหนดหัวข้อการวิจัยด้านการท่องเที่ยว

วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพด้านการท่องเที่ยว : การสังเกต

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

การสังเกต (Observation) หมายถึงการเฝ้าดูสิ่งที่เกิดขึ้นหรือปรากฏขึ้นอย่างเอาใจใส่และกำหนดไว้อย่างมีระเบียบวิธี เพื่อวิเคราะห์หรือหาความสัมพันธ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นกับสิ่งอื่น การสังเกตทำให้รู้พฤติกรรมที่แสดงออกมาเป็นธรรมชาติ เป็นข้อมูลโดยตรงตามสภาพความเป็นจริง จัดเป็นข้อมูลแบบปฐมภูมิที่มีความน่าเชื่อถือมาก ประเภทของการสังเกตที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพด้านการท่องเที่ยว มี 2 แบบ ได้แก่ 1. การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) คือ การสังเกตชนิดที่ผู้สังเกตเข้าไปใช้ชีวิตร่วมกับกลุ่มคนที่ถูกศึกษา มีการร่วมกระทำกิจกรรมด้วยกันและพยายามให้คนในชุมชนนั้นยอมรับว่าผู้สังเกตมีสถานภาพบทบาทเช่นเดียวกับตน จนกระทั่งผู้สังเกตเข้าใจโลกทัศน์ ความรู้สึกนึกคิด และความหมายที่คนเหล่านั้นให้ต่อปรากฏการณ์ที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา การสังเกตแบบมีส่วนร่วมประกอบด้วยกระบวนการ 3 ขั้นตอน คือ การสังเกต การซักถาม และการจดบันทึกข้อมูล เช่น…

Continue Readingวิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพด้านการท่องเที่ยว : การสังเกต

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนากับจรรยาวิชาชีพวิจัย

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่สอดคล้องกับจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ ได้แก่ หลักฆราวาสธรรม 4 หลักสัปปุริสธรรม 7 และหลักอิทธิบาท 4 รายละเอียดของหลักธรรมมีดังนี้ 1. หลักฆราวาสธรรม 4 เป็นหลักธรรมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพต่าง ๆ ใช้ยึดเป็นคุณธรรมพื้นฐานของจิตใจในการครองชีวิต ให้ประสบความสุขสมบูรณ์ และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคคลทั้งหลาย ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ ได้แก่ 1.1 สัจจะ (ความซื่อสัตย์) นักวิจัยด้านการท่องเที่ยวจำเป็นต้องมีความซื่อสัตย์ในทุกขั้นตอนของกระบวนการวิจัย ตั้งแต่ก่อนการดำเนินงานวิจัย ระหว่างดำเนินงานวิจัย และหลังการดำเนินงานวิจัยรวมถึงการเผยแพร่ผลงานวิจัยและการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ เสนอข้อมูลและแนวคิดโดยสุจริตไม่สร้างผลงานวิจัยอันเป็นเท็จ และไม่จ้างวานผู้อื่นทำวิจัยให้…

Continue Readingหลักธรรมทางพระพุทธศาสนากับจรรยาวิชาชีพวิจัย