การตัดสินใจเลือกสินค้าที่จะผลิตและขายกรณีทรัพยากรมีจำกัด

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

การเลือกสินค้าที่จะผลิตและขายเป็นหน้าที่ที่สำคัญอย่างหนึ่งของผู้บริหาร โดยเฉพาะกิจการที่มีการผลิตและขายสินค้าหลายชนิดโดยใช้ทรัพยากรร่วมกัน ซึ่งทรัพยากรในที่นี้ หมายถึง ปัจจัยการผลิต เช่น วัตถุดิบ แรงงาน ชั่วโมงเครื่องจักร พื้นที่โรงงาน เป็นต้น  โดยมักจะประสบปัญหาในระยะสั้นเกี่ยวกับทรัพยากรที่มีจำกัด เช่น เครื่องจักรที่มีอยู่สามารถผลิตสินค้าได้ในจำนวนจำกัด วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมีจำกัด พื้นที่ใช้สอยภายในอาคารโรงงานมีจำกัด เป็นต้น ทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดได้ทั้งหมด และเนื่องจากสินค้าแต่ละชนิดมีกำไรส่วนเกินต่อหน่วยไม่เท่ากัน ดังนั้น  ผู้บริหารจึงต้องตัดสินใจว่าจะเลือกผลิตและขายสินค้าชนิดใด เป็นจำนวนเท่าใด จึงจะทำให้กิจการได้รับประโยชน์สูงสุด ภายใต้ข้อจำกัดของทรัพยากรที่มีอยู่          ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะกรณีที่มีข้อจำกัดของทรัพยากร 1 ข้อจำกัด   การวิเคราะห์จะต้องพิจารณา กำไรส่วนเกินต่อ 1…

Continue Readingการตัดสินใจเลือกสินค้าที่จะผลิตและขายกรณีทรัพยากรมีจำกัด

Free Float สำคัญอย่างไรกับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับคำว่า Free Float คืออะไร Free Float เป็นค่าที่บอกปริมาณการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อยว่ามากน้อยเพียงใด แล้วผู้ถือหุ้นรายย่อยคือใคร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้นิยาม คำว่า ผู้ถือหุ้นรายย่อย หมายถึง ผู้ถือหุ้นที่มิได้เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการบริหารงาน (Strategic Shareholders) กล่าวคือ ไม่ได้เป็น กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้บริหาร 4 ระดับแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารรายที่ 4 ทุกราย รวมถึงผู้เกี่ยวข้องและบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับบุคคลที่กล่าวมานี้ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นมากกว่า 5% ของทุนชำระแล้ว โดยนับรวมผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ยกเว้นผู้ถือหุ้นกลุ่มดังต่อไปนี้คือ บริษัทหลักทรัพย์…

Continue ReadingFree Float สำคัญอย่างไรกับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

ขยายเพดานการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

เป็นเวลานานหลายปีมาแล้ว การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเพื่อให้สามารถถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปีได้นั้น  จะต้องพิจารณาจำนวนหนี้ของลูกหนี้แต่ละราย ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่ ลูกหนี้รายเล็ก ไม่เกิน  100,000 บาท (แต่ถ้าเป็นลูกหนี้ของธนาคาร หรือบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ตัวเลขจะอยู่ที่ไม่เกิน 200,000 บาท) ลูกหนี้รายกลาง ไม่เกิน 500,000 บาท และลูกหนี้รายใหญ่ คือมีจำนวนเกิน 500,000 บาทขึ้นไป โดยการจำหน่ายหนี้สูญจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ 186…

Continue Readingขยายเพดานการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล