การกำกับดูแลกิจการในธุรกิจครอบครัว

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

La Porta et al. (1999) และ La Porta et al. (2000) ศึกษาพบว่ากฎระเบียบของประเทศมีผลต่อการปกป้องผู้ถือหุ้นในธุรกิจครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญ โดยในประเทศกำลังพัฒนาที่บรรษัทภิบาลยังไม่พัฒนาและมีความแตกต่างระหว่างการควบคุมและความเป็นเจ้าของกิจการสูง โดยเฉพาะเมื่อโครงสร้างของกิจการครอบครัวเป็นแบบพีระมิด ยิ่งส่งผลต่อการดำเนินงานในธุรกิจครอบครัวอย่างชัดเจน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Claessens et al. (2000) นอกจากนี้ การศึกษาของ Villalonga and Amit (2006) พบว่า ความขัดแย้งระหว่างสมาชิกครอบครัวที่ถือหุ้นกับผู้ถือหุ้นรายอื่นในธุรกิจครอบครัวที่ผู้สืบทอดกิจการเป็นผู้บริหารสูงสุดของกิจการมีต้นทุนที่สูงกว่าความขัดแย้งระหว่างตัวแทนและตัวการในกิจการที่ไม่ใช่ธุรกิจครอบครัว ในขณะที่ Anderson…

Continue Readingการกำกับดูแลกิจการในธุรกิจครอบครัว

แนวคิดเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

การกำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance) หรือ  บรรษัทภิบาล  ตามความหมายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  คือ  ระบบที่จัดให้มีโครงสร้างและกระบวนการของความสัมพันธ์ ระหว่างคณะกรรมการ  ฝ่ายจัดการ  และผู้ถือหุ้น  เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน  นำไปสู่ความเจริญเติบโตและเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาว  โดยคำนึงถึงผู้มีสวนได้เสียอื่น (The Stock Exchange of Thailand, 2012) โดยหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน  ปี 2555 The Stock Exchange of Thailand (2012) ประกอบด้วยหลักการและแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการกำากับดูแลกิจการ…

Continue Readingแนวคิดเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี

ปัญหาบรรษัทภิบาลในธุรกิจครอบครัวไทย

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ธุรกิจครอบครัว (Family Firm) ถือว่าเป็นธุรกิจที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา ที่ธุรกิจครอบครัวมีจำนวนเกินกว่าครึ่งของกิจการในประเทศและกระจายตัวไปยังทุกกลุ่มอุตสาหกรรม และสามารถสร้างรายได้ให้แก่ประเทศได้อย่างมีนัยสำคัญ (Claessens et al., 2000) อย่างไรก็ตาม ในธุรกิจครอบครัวมักพบปัญหาทายาทรุ่นหลังไร้ความสามารถ หรือปัญหาจากการที่สมาชิกครอบครัวที่มักมีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการภายในธุรกิจครอบครัว ก่อให้เกิดความขัดแย้งในความต้องการและความคาดหวังของครอบครัวกับผู้ถือหุ้นรายย่อยและผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มอื่นๆ (Dyer, 2018) ปัญหาเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อการอยู่รอดของธุรกิจครอบครัวได้บ่อยครั้ง (Morris et al., 1997) ทั้งนี้ พบว่า การอยู่รอดของธุรกิจครอบครัวไม่ได้มีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมภายในองค์กรอย่างชัดเจน แต่เป็นผลมาจากคุณสมบัติของตัวผู้บริหารสูงสุด (Lank et al., 1994;…

Continue Readingปัญหาบรรษัทภิบาลในธุรกิจครอบครัวไทย