ความสำคัญของการควบคุมต่อองค์การ

1. การควบคุมมีความสำคัญต่อหน้าที่ทางการบริหารอื่นๆในองค์การ 1) การควบคุมมีความสำคัญต่อการวางแผน กล่าวคือ การควบคุมทำให้เกิดการบรรลุเป้าหมายและวิธีการที่กำหนดไว้ในแผน ถ้ามีปัญหาอุปสรรคก็สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงที และทำให้การทบทวนหรือปรับปรุงแผนใหม่ในอนาคตง่ายขึ้น เนื่องจากมีข้อมูลว่าแผนดังกล่าวบรรลุเป้าหมายหรือไม่ อย่างไร เช่น การควบคุมการดำเนินงานตามแผนประชาสัมพันธ์ทำให้การประชาสัมพันธ์ขององค์การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น  เป็นต้น  นอกจากนี้ ในระหว่างดำเนินการตามแผน ถ้ามีการควบคุมจะทำให้ทราบความก้าวหน้าของแผนว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือมาตรฐานที่กำหนดไว้หรือไม่ อย่างไรอีกด้วย       2) การควบคุมมีความสำคัญต่อการประสานงาน กล่าวคือ เพื่อให้การประสานงานของหน่วยงานภายในองค์การประสบความสำเร็จ ฝ่ายบริหารองค์การควรให้ความสำคัญกับการควบคุมเพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ปฏิบัติงานในความรับผิดชอบของตนเองได้บรรลุเป้าหมายตามแผน ซึ่งจะส่งผลดีต่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นๆ ในองค์การด้วย ในทางตรงกันข้าม ถ้าผู้บริหารองค์การไม่ควบคุมการปฏิบัติงานในส่วนที่ตนรับผิดชอบอยู่อาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นในองค์การ หรือสร้างปัญหาหรือความขัดแย้งกับหน่วยงานอื่น 2.…

Continue Readingความสำคัญของการควบคุมต่อองค์การ

The Controlling

การให้นิยามการควบคุมอยู่บนแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญ  2 ประการ กล่าวคือ ประการที่ 1 การควบคุมเป็นการติดตามตรวจสอบการทำงานขององค์กร และประการที่ 2 การควบคุมมุ่งให้ผลการปฏิบัติงานเป็นไปตามมาตรฐานผลการปฏิบัติงานหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้   ดังการให้นิยามของ ฟาโยล (Fayol, 1964 : 57) ซึ่งได้กล่าวถึงความหมายของการควบคุมว่า การควบคุม หมายถึง การตรวจสอบทุกสิ่งว่าสอดคล้องกับแผนและหลักการที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยการควบคุมมีวัตถุประสงค์ คือ การค้นหาผิดพลาด เพื่อปรับปรุงแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดการคลาดเคลื่อนจากวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เช่นเดียวกับ รอบบินส์ และคูลเตอร์ (Robbins and Coulter,…

Continue ReadingThe Controlling

Types of Coordination

การประสานงานเป็นวิธีการเชื่อมโยงการทำงานของส่วนต่างๆในองค์การเพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย ถ้าส่วนต่างๆในองค์การมีความแตกต่างกันมาก (Differentation) ยิ่งมีความจำเป็นที่ต้องใช้รูปแบบการประสานงานที่เหมาะสม ในที่นี้ ผู้เขียนได้แบ่งรูปแบบของประสานงานในองค์การตามมิติการจัดองค์การ มิติโครงสร้าง มิติความเป็นทางการ และมิติพื้นที่              การประสานงานจำแนกตามมิติการจัดองค์การ การประสานงานจำแนกตามมิติการจัดองค์การ แบ่งเป็น 1) การประสานงานผ่านการจัดองค์การแบบพันธกิจ  หมายถึง การจัดองค์การโดยนำองค์การที่มีพันธกิจเหมือนกันรวมเข้าอยู่ด้วยกันเพื่อให้เกิดการประสานงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น การนำกลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์ กลุ่มงานแผนงานและโครงการ และกลุ่มงานติดตามและประเมินมารวมอยู่ด้วยกันในสำนักนโยบายและแผนเพื่อให้การประสานงานด้านนโยบายและแผนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นต้น                          2) การประสานงานผ่านการจัดตั้งหน่วยงานการบริหารเชิงกลยุทธ์ หมายถึง การจัดตั้งหน่วยงานการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อทำหน้าที่ประสานงานและติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานอื่นให้ดำเนินการตามกลยุทธ์ที่องค์การกำหนดไว้ เช่น การจัดตั้งหน่วยบริหารยุทธศาสตร์ในองค์การ เพื่อประสานงานการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ในแผนยุทธศาสตร์ขององค์การ เป็นต้น…

Continue ReadingTypes of Coordination