การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2476

การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2476 มีลักษณะที่สำคัญดังนี้           1. ได้เริ่มให้มีการจัดระเบียบราชการแผ่นดินออกเป็น 3 ส่วน อันได้แก่ ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น (มาตรา 4) เป็นครั้งแรก สำหรับราชการบริหารส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวงหรือทบวงการเมืองที่มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง (มาตรา 5) โดยมีรัฐมนตรีคนหนึ่งว่าการบังคับบัญชาและรับผิดชอบ ซึ่งหากมีพันธกิจมาก อาจมีรัฐมนตรีช่วยว่าการด้วยก็ได้ (มาตรา 6) และกำหนดให้แต่ละกระทรวงจัดระเบียบราชการออกเป็น (1) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี (2)…

Continue Readingการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2476

พัฒนาการของการบริหารราชการส่วนกลางกับการบริหารราชการไทยในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์

พัฒนาการของการบริหารราชการส่วนกลางกับการบริหารราชการไทยในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สามารถสรุป สาระสำคัญได้ดังนี้ ยุคสมัยลักษณะการบริหารราชการส่วนกลางและระบบทางการบริหารที่สำคัญระบอบการปกครองกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี (พ.ศ. 1720-1863)1. การบริหารราชการส่วนกลางอยู่ที่เมืองหลวง 2. การปกครองหัวเมืองชั้นในนั้นขึ้นอยู่กับกรุงสุโขทัยโดยตรง หัวเมืองชั้นใน ได้แก่ เมืองหน้าด่านหรือเมืองลูกหลวง ล้อมรอบราชธานีทั้ง 4 ด้าน คือ ศรีสัชนาลัย (ด้านหน้า) สองแคว (ด้านตะวันออก) สระหลวง (ด้านใต้) และชากังราว (ด้านตะวันตก)พ่อปกครองลูก (บิดาปกครองบุตร) รวมอำนาจที่ศูนย์กลางคือราชธานีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี (พ.ศ. 1863-2310)1. การปรับปรุงการจัดระเบียบบริหารราชการในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1…

Continue Readingพัฒนาการของการบริหารราชการส่วนกลางกับการบริหารราชการไทยในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์

การแบ่งส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม

การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักนายกรัฐมนตรีออกเป็น กรม สำนัก สำนักงาน และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม เหล่านี้อาจจำแนกได้เป็น 4 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบที่ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรมประชาสัมพันธ์ และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค           2) รูปแบบที่ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ…

Continue Readingการแบ่งส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม