รัฐบาลกระจายอำนาจทางการคลังอย่างไร ?

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

รัฐบาลกระจายอำนาจทางการคลังอย่างไร[1]           รัฐบาลของทุก ๆ ประเทศย่อมต้องตระหนักอยู่เสมอว่า ทำอย่างไรรัฐบาลจึงจะสามารถปกครองหรือบริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และประหยัด เพื่อต้องการให้ประชาชนในประเทศมีความร่มเย็นเป็นสุข มีมาตรฐานการครองชีพในระดับที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต อีกทั้งประเทศชาติมีความมั่นคง ฯลฯ การที่รัฐบาลจะตอบสนองต่อเป้าหมายดังกล่าวนี้ได้นั้น แนวทางหนึ่งที่ รัฐบาลสามารถกระทำได้ก็คือ การกระจายอำนาจให้แต่ละท้องถิ่นเพื่อปกครองตนเอง           สำหรับประเทศไทยแนวทางในการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2545 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม และกฎหมายอื่นๆ…

Continue Readingรัฐบาลกระจายอำนาจทางการคลังอย่างไร ?

การบริหารเงินคงคลังของรัฐบาล

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

การบริหารเงินคงคลังของรัฐบาล[1]           เงินคงคลังจึงเปรียบเสมือนเงินออมของประเทศ ในกรณีที่มีดุลเงินสดเกินดุลนั้นระดับเงินคงคลังก็จะเพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้ามถ้าดุลเงินสดขาดดุลแล้ว ระดับของเงินคงคลังก็จะลดลง สำหรับความหมายของเงินคงคลังนั้นสำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้ให้คำนิยามของเงินคงคลังไว้ว่า เงินคงคลังหมายถึง ปริมาณหรือจำนวนเงินที่เป็นรายได้เหลือจ่ายสะสมจากการดำเนินงานของรัฐซึ่งรัฐสะสมไว้ในคลัง ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยหมายความรวมถึง ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ และจำนวนเงินในบัญชีเงินฝากของกระทรวงการคลัง ซึ่งฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย           พนัส สิมะเสถียร (พ.ศ. 2535) ได้กล่าวไว้ว่าเงินคงคลังหมายถึงเงินที่รับมีไว้เพื่อการใช้จ่ายในการดำเนินงานของรัฐ กรณีที่รับจัดเก็บเงินได้มากว่าเงินที่ใช้จ่ายก็จะมีเงินคงเหลือเก็บรักษาอยู่ในคลัง จำนวนเงินนั้นคือเงินคงคลังนั่นเอง           ศุภชัย พิศิษฐวานิช ได้กล่าวไว้ว่า เงินคงคลัง หมายถึง…

Continue Readingการบริหารเงินคงคลังของรัฐบาล

รัฐบาลทำหน้าที่ทางเศรษฐกิจอะไรบ้าง

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

รัฐบาลทำหน้าที่ทางเศรษฐกิจอะไรบ้าง[1]           การทำหน้าที่ทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ของรัฐบาลนั้น การที่รัฐ / รัฐบาลจะเลือกใช้ระบบเศรษฐกิจแบบใด เพื่อจุดมุ่งหมายอะไรในทางเศรษฐกิจนั้นขึ้นอยู่กับว่า รัฐบาลต้องการที่จะเข้าไปแทรกแซงในทางเศรษฐกิจมากน้อยเพียงใด หากต้องการที่จะเข้าไปควบคุมทางเศรษฐกิจทั้งหมดอย่าง เช่น ระบบการเมืองการปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จนิยมที่รัฐบาลในนามของพรรคคอมมิวนิสต์เป็นเจ้าของและผู้ใช้อำนาจอธิปไตย ก็เลือกที่จะใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ตรงกันข้ามหากเป็นการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย ประเทศ/รัฐนั้น ๆ ก็จะเลือกใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือเสรีนิยมมักจะไม่เข้าไปแทรกแซง หรือควบคุมระบบเศรษฐกิจ แต่จะให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการกันเอง เพียงแต่รัฐจะออกกฎหมาย กำหนดระเบียบแบบแผนและวิธีปฏิบัติให้เอกชนถือเป็นผู้ปฏิบัติ รัฐเพียงแต่เข้าไปกำกับและตรวจสอบให้มีการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบที่กำหนดไว้เพื่อมิให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบ หรือมีการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม หรือผูกขาดของเอกชนในการดำเนินการทางธุรกิจที่ส่งผลเสียต่อประเทศชาติและประชาชน อย่างไรก็ตามในบางสถานการณ์รัฐบาลอาจเข้าไปแทรกแซงการทำหน้าที่ทางเศรษฐกิจของเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ หรือในบางกรณีรัฐอาจจำเป็นต้องทำหน้าที่ทางเศรษฐกิจด้วยตนเองเพื่อประโยชน์สาธารณะก็ได้           การใช้ระบบเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือในการทำหน้าที่ของรัฐให้ได้ครบถ้วนสมบูรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ…

Continue Readingรัฐบาลทำหน้าที่ทางเศรษฐกิจอะไรบ้าง