การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการคลัง อปท. ด้านรายได้

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการคลัง อปท. ด้านรายได้[1]                    การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการคลังของ อปท. สามารถทำได้โดยวิธีการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการคลังทั้งทางด้านรายได้และด้านรายจ่าย กล่าวคือ                    1. การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการคลังทางด้านการจัดหารายได้ ในส่วนนี้นั้นจะเกี่ยวข้องกับการดำเนินการของ อปท. เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีประเภทต่าง ๆ ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ อปท. ซึ่งจากการจัดหารายได้ของ อปท. ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาจะมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรในสัดส่วนที่มากที่สุดจากบรรดารายได้ทุกประเภทของ อปท. ดังนั้นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารด้านการคลังได้ดีที่สุดคือการดำเนินงานใน 2 แนวทางหลักคือ 1) การปรับปรุงการบริหารการคลังด้านการจัดหารายได้ของ อปท.ตามอำนาจหน้าที่ และ 2) การสร้างแหล่งรายได้ใหม่…

Continue Readingการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการคลัง อปท. ด้านรายได้

การบริหารการคลังท้องถิ่นกับการจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

การบริหารการคลังท้องถิ่นกับการจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่ (New Public Governance: NPG)[1]                     การบริหารภาครัฐถือเป็นกลไกในการนำเอายุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี(พ.ศ. 2561-2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายของรัฐบาลไปดำเนินการให้เกิดผลในรูปแบบของการบริการสาธารณะเพื่อแก้ไชปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชนโดยส่วนราชการทั้งส่วนกลาง ภูมิภาคและท้องถิ่น และยังรวมถึงรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนและองค์กรภาครัฐอื่น การบริหารภาครัฐหรืออีกนัยหนึ่งก็คือการบริหารราชการแผ่นดินในหลายยุคหลายสมัยการมีแนวทางและรูปแบบที่ผ่านการพัฒนามาโดยตลอดจากอดีตจนถึงปัจจุบันดังจะเห็นได้จากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2352) ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีในปี พ.ศ. 2325 นั้นพระองค์ยังคงใช้รูปแบบและวิธีการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดินที่เคยใช้มาในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายและสมัยกรุงธนบุรี ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411 –…

Continue Readingการบริหารการคลังท้องถิ่นกับการจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่

การบริหารการจัดการแบบเครือข่าย : เครื่องมือสำหรับการจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

การบริหารจัดการแบบเครือข่าย : เครื่องมือสำหรับการจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่[1]                         การจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่ซึ่งเป็นกระบวนทัศน์ในการบริหารรัฐกิจแนวใหม่จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วนคือ ส่วนที่  1  การกระจายอำนาจสู่รัฐบาลท้องถิ่นและภาคประชาสังคม  ส่วนที่ 2  การมีส่วนร่วมการจัดทำบริการสาธารณะจากภาคส่วนต่างๆ  และ และส่วนที่ 3 การ ดำเนินงานด้านการให้บริการสาธารณะของภาคส่วนต่างๆ ในรูปแบบของเครือข่าย ดังนั้นในการนำนโยบายสาธารณะโดยเฉพาะการจัดบริการสาธารณะไปสู่ประชาชน หรือการนำนโยบายไปปฏิบัติ (policy implementation) ตามกระบวนทัศน์การจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่นั้นจำเป็นต้องมีการดำเนินการร่วมกันของภาคส่วนต่างๆ ในรูปแบบของเครือข่ายซึ่งจะต้องมีวิธีการดำเนินงานด้วยวิธีการบริหารหรือการจัดการเครือข่ายที่ถูกต้องและเหมาะสม ในเรื่องการบริหารหรือการจัดการเครือข่ายนี้ นันธิดา จันทร์ศิริ[2] เห็นว่า…

Continue Readingการบริหารการจัดการแบบเครือข่าย : เครื่องมือสำหรับการจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่