ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานตรวจสอบภายในกับผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

หน่วยงานตรวจสอบภายในกับผู้สอบบัญชีรับอนุญาตควรมีการประสานงานกัน ทำงานร่วมกันจะทำให้ลดงานที่ทำซ้ำซ้อนกันลงไป ทำให้สามารถนำทรัพยากรส่วนที่เหลือไปก่อให้เกิดประโยชน์กับองค์กรในเรื่องอื่น ๆ ต่อไป ดังนั้น ผู้ตรวจสอบภายในและผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ควรมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เปิดเผยข้อมูลจากการตรวจสอบซึ่งกันและกันไว้วางใจซึ่งกันและกัน เพื่อให้รายงานงบการเงินขององค์กรมีความถูกต้อง ครบถ้วน เชื่อถือได้จากผู้ใช้งบการเงินทั้งหมด เพื่อสร้างความโปร่งใสให้กับองค์กร ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตสามารถประสานงานกับผู้ตรวจสอบภายในเพื่อประโยชน์ร่วมกันในการปฏิบัติภารกิจดังตัวอย่างต่อไปนี้1 การวางแผนงานการตรวจสอบประจำปี ในระหว่างเวลาที่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตวางแผนงานตรวจสอบประจำปีควรเปรียบเทียบแผนงานตรวจสอบของผู้ตรวจสอบภายในเพื่อป้องกันงานซ้ำซ้อนกัน หรือในกรณีที่ผู้ตรวจสอบภายในจำเป็นต้องปฏิบัติงานซ้ำกันกับผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ในการวางแผนงานตรวจสอบนั้น ผู้ตรวจสอบภายในควรทราบและเข้าใจวิธีการตรวจและผลที่ตรวจโดยพบผู้สอบบัญชีรับอนุญาตก่อนเสมอ2 การสอบทานระบบการควบคุมภายในขององค์กร ในระหว่างเวลาที่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตสอบทานระบบการควบคุมภายในขององค์กร ในช่วงเวลานี้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตควรได้ทราบผลการประเมินระบบการควบคุมภายในตามแนวทางของโคโซ่ (COSO) ผู้ตรวจสอบภายในได้จัดทำขึ้นตามระบบงานสำคัญ ๆ ขององค์กร3 การตรวจสอบงบการเงินประจำปี ในระหว่างเวลาที่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบงบการเงินประจำปี ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตควรรับทราบผลการตรวจสอบภายในทุกฉบับตลอดปี เพื่อรับทราบรายงานตรวจสอบภายในที่เป็นสาระสำคัญต่อรายงานงบการเงินประจำปีขององศ์กรตลอดจนความร่วมมือกันและประสานงานกันในกรณีการสังเกตการณ์ตรวจนับสินค้าคงเหลือประจำปีขององค์กรด้วย…

Continue Readingความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานตรวจสอบภายในกับผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

มาตรฐานสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพตรวจสอบภายใน

การดำเนินงานของผู้ประกอบวิชาชีพตรวจภายใน ต้องปฎิบัติตาม “มาตรฐานสากลสำหรับการปฎิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายใน” (International Standard for the Professional Practice of Internal Auditing หรือที่เรียกว่า IPPF) ซึ่งกำหนดโดยสมาคมผู้ตรวจสอบภายในสากล (The Institute of Internal Auditors: IIA) ถือเป็นแนวทางการปฎิบัติงานและคำแนะนำสำหรับการตรวจสอบภายใน โดยสามารถปรับประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานทั้งในสภาพแวดล้อม ลักษณะธุรกิจ ขนาด ความซับซ้อนที่แตกต่างกันได้ ซึ่งมาตรฐานสากลสำหรับการปฎิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายใน ประกอบด้วย 1. พันธกิจ…

Continue Readingมาตรฐานสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพตรวจสอบภายใน

R&D

ท่ามกลางการแข่งขันทางการค้าที่เปิดเสรีในปัจจุบันซึ่งต้องแข่งขันทั้งในประเทศ ต่างประเทศ รวมทั้งออนไลน์ จึงไม่สามารถปฎิเสธได้ว่าการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) เพื่อให้ได้มา อาทิ ความรู้ทางการตลาด เทคนิคการผลิต กระบวนการ ทรัพย์สินทางปัญญา เครื่องหมายการค้า เป็นต้น ถือเป็นส่วนสำคัญที่กิจการต้องพัฒนาในการรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด และเพิ่มผลประกอบการในอนาคต ผลการดำเนินงานของกิจการที่มาจากการวัดผลกระทบจากการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา หนึ่งในด้านผลการดำเนินงานมีที่มาจากตัวเลขที่ปรากฎอยู่ในงบการเงินของกิจการ ซึ่งมาตรฐานการบัญชีได้กล่าวถึงอยู่ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 เรื่องสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ระบุการลงทุนของกิจการในการทำการวิจัยและพัฒนาจนกระทั่งได้มาซึ่งรายการบัญชีบัญชีในหมวดสินทรัพย์ ที่เรียกว่า สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) นั้นคือสินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินที่สามารถระบุได้และไม่มีลักษณะทางกายภาพ…

Continue ReadingR&D