การดำเนินงานอย่างยั่งยืน

การดำเนินงานอย่างยั่งยืนได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความครอบคลุมและเหมาะสมกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกมากยิ่งขึ้น อาทิ ภาวะโลกร้อน กระบวนการคัดเลือกวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การทุจริตตกแต่งบัญชีของคณะกรรมการ เป็นต้น ซึ่งแนวคิดการดำเนินงานอย่างยั่งยืนที่ได้ถูกพัฒนาเป็นปัจจุบัน มีชื่อเรียกว่า ESG มีที่มาจากตัวย่อขององค์ประกอบของการดำเนินงานอย่างยั่งยืน คือ การดำเนินงานของกิจการต้องที่ใส่ใจ 3 ด้านประกอบด้วย 1) ด้านสิ่งแวดล้อม (Environment: E) 2) ด้านสังคม (Social: S) และ 3) ด้านการกำกับดูแลกิจการ (Governance: G)             การวัดความสำเร็จในการดำเนินงานของกิจการเพียงตัวเลขทางบัญชี โดยไม่สนใจผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ส่วนได้ส่วนเสียของกิจการ อาทิ ชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม ผู้ถือหุ้น พนักงาน ส่งผลต่อการละเมิดข้อกำหนด กฎหมายรวมถึงชื่อเสียง และการดำรงอยู่ของกิจการในระยะยาว ซึ่งกล่าวถึงในทฤษฎีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย…

Continue Readingการดำเนินงานอย่างยั่งยืน

การเปลี่ยนแปลงของรายงานประจำปี

การเปิดเผยข้อมูลของบริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งจัดทำตามข้อกำหนดในการเปิดเผยข้อมูลในรูปแบบรายงานข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) รายงานประจำปี (แบบ 56-2) โดยให้จัดทำเป็นชุดเดียวกันซึ่งเรียกว่า “แบบ 56-1 One Report” เริ่มบังคับใช้กับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ซึ่งบริษัทมหาชนจำกัดต้องจัดทำและเผยแพร่ในปี 2565 เพื่อลดภาระบริษัทมหาชนจำกัดในการจัดทำข้อมูลทั้งการนำส่งและการจัดทำสะดวกมากขึ้น โดยเป็นการลดแบบรายงาน จากเดิมที่กิจการต้องทำแบบแสดงรายการ 56-1 และแบบแสดงรายการ 56-2 เป็นเหลือแบบเดียวคือ แบบแสดงรายการ 56-1 ซึ่งสามารถนำไปใช้ส่ง สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกระทรวงพาณิชย์ แบบ 56-1 One Report ให้ความสำคัญกับการนำเสนอข้อมูล ESG หรือที่เรียกว่าความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ซึ่งความยั่งยืนมีส่วนประกอบคือการดำเนินงานของกิจการที่ใช้ใจสิ่งแวดล้อม (Environment:E) สังคม (Social:S) การกำกับดูแลกิจการ (Governance:G) เรียกโดยย่อว่า ESG โดยนำเสนอแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ดำเนินการนำเสนอช่วงเวลาที่ผ่านมากิจการได้ดำเนินการอย่างไรบ้างในแต่ละหัวข้อของ ESG อีกทั้งผู้สนใจและนักลงทุนสามารถศึกษาข้อมูลสำหรับใช้ในการตัดสินใจลงทุน เนื่องจากมีข้อมูลที่มีนัยสำคัญอย่างพอเพียง สะท้อนสถานะปัจจุบันของกิจการ อาทิ โครงสร้างและการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจ การบริหารจัดการความเสี่ยง โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการ การขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืนซึ่งเน้นการรายงานข้อมูลด้าน ESG …

Continue Readingการเปลี่ยนแปลงของรายงานประจำปี

Mixed method

มุมมองในการพิจารณาสิ่งเดียวกัน มีความแตกต่าง ขึ้นอยู่กับรากฐานความเชื่อที่มีอยู่ของแต่ละบุคคลเช่นเดียวกับงานวิจัยที่มีหัวข้อที่สนใจเรื่องเดียวกัน แต่มีกระบวนการทำวิจัยและการเก็บข้อมูลที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับมุมมองหรือกระบวนทัศน์ของผู้วิจัย เรียกว่า research paradigm โดยเมื่อพิจารณามุมมองสามารถแบ่งเป็นสองฝ่าย คือ 1) Objectivism มองว่าสิ่งที่สนใจเป็นความจริง ความรู้ ที่มีอยู่ ซึ่งไม่ว่าผู้ใดมองก็จะเห็นความจริงนั้นที่เหมือนกัน อาทิ ตัวเลขทางการเงิน เป็นต้น โดยไม่มีการตีความ ผู้วิจัยทำหน้าที่ศึกษาและรายงานตามสิ่งที่เป็น ดังนั้นตัวอย่างงานวิจัยในกลุ่มนี้จึงเป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative) คำถามในงานวิจัย อาทิ อัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ส่งผลต่อโอกาสในการเกิดการล้มละลายของกิจการหรือไม่ โดยการศึกษาจะนำทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาเป็นฐานและทำการเก็บข้อมูลเพื่อพิสูจน์คำถามการวิจัยดังกล่าวในขณะที่ 2) Constructivism มองว่าความจริงเป็นสิ่งที่สังคมสร้างขึ้นมา…

Continue ReadingMixed method