ปรัชญาแห่งศาสตร์ (ตอนที่ 1) : ภววิทยา

ภววิทยา (Ontology) เป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต โดยคำว่า “ภว” (บาลี) หมายถึง สภาวะแห่งการดำรงอยู่ ส่วนคำว่า “วิทยา” (สันสกฤต) นั้นหมายถึง ความรู้ (นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ, 2564) ดังนั้น “ภววิทยา” จึงหมายถึง การมีอยู่หรือการดำรงอยู่ (Being) ของความรู้ (knowledge) ความจริง (Fact) วิชา (Subject) และศาสตร์ (Sciences) แขนงต่างๆ ภววิทยาเป็นสภาวะที่มีอยู่จริง หรือเป็นสภาวะที่ศาสตร์นั้นๆคิดว่ามีอยู่จริง โดยที่ศาสตร์อื่นๆอาจไม่รู้ ไม่เข้าใจ และเข้าไม่ถึง ภววิทยาเป็นธรรมชาติของความรู้ความจริงที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยกับความรู้ความจริงที่นักวิจัยแสวงหาผ่านแนวคิดและฐานคติในการเข้าถึงความรู้ความจริงที่แตกต่างกันระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งถือได้ว่าเป็นวิธีการแสวงหาความรู้ความจริงที่เป็นระบบและเป็นระเบียบแบบแผนมากที่สุดในยุคหลังสมัยใหม่ (Postmodern)

เอกสารอ้างอิง
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2564). ภววิทยา (Ontology). สืบค้น 31 มกราคม 2565, จาก https://www.sac.or.th/portal/th/article/detail/219