การเช่าสินทรัพย์กับการจัดหาเงินทุนนอกงบการเงิน

การเช่าสินทรัพย์ (Leasing) โดยเฉพาะการเช่าดำเนินงาน (Operating Lease) เป็นการเช่าที่ไม่ได้รายงานรายการสินทรัพย์ที่เช่าเป็นรายการสินทรัพย์ของกิจการที่ใช้ในการดำเนินงานของกิจการ รวมถึงไม่ต้องรายงานภาระผูกพันที่จะต้องชำระค่าเช่าสินทรัพย์ที่ยังคงเหลือจนสิ้นสุดสัญญาเช่าเป็นรายการหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงินของกิจการผู้เช่าสินทรัพย์ในระบบมาตรฐานบัญชีเดิม ทำให้การเช่าดำเนินงานเป็นการจัดหาเงินทุนนอกงบการเงิน (Off-balance sheet Financing) ที่บริษัทจำนวนมากนิยมใช้ คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานรายงานทางการเงินของสหรัฐอเมริกา (Financial Accounting Standards Board: FASB) และ คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (International Accounting Standards Board: IASB) ได้มีเป้าหมายที่จะให้บริษัทต่าง ๆ ไม่สามารถใช้สัญญาเช่าสินทรัพย์เป็นเครื่องมือในการจัดหาเงินทุนนอกงบแสดงฐานะการเงินอีกต่อไป โดย FASB…

Continue Readingการเช่าสินทรัพย์กับการจัดหาเงินทุนนอกงบการเงิน

การผลิตเนย เสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่?

ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือภาษีที่เก็บจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิตและการจำหน่ายสินค้าหรือบริการชนิดต่างๆ อย่างไรก็ดี ตามมาตรา 81 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้การประกอบกิจการบางชนิดได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การขายสัตว์ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเนื้อ ส่วนต่างๆ ของสัตว์ ไข่ น้ำนม และวัตถุพลอยได้จากสัตว์ ที่อยู่ในสภาพสด หรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเป็นการชั่วคราว แต่ไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารบรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม ในทางปฏิบัติ มีประเด็นที่ขอหารือดังนี้ ผลิตภัณฑ์เนยที่สหกรณ์ผลิตมาจากน้ำนมวัวดิบ แยกครีม ผ่านอุณหภูมิ นำเข้าเครื่องปั่นเนยโดยใช้ครีม (38 - 40%) 120…

Continue Readingการผลิตเนย เสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่?

เงินได้ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์ฯ เป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระหรือไม่?

เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร คือเงินได้อันเข้าลักษณะพึงต้องเสียภาษี ประมวลรัษฎากรได้กำหนดเงินได้พึงประเมินไว้ 8 ประเภท ทั้งนี้เงินได้แต่ละประเภทจะได้รับสิทธิประโยชน์ในการหักค่าใช้จ่ายมากน้อยแตกต่างกันตามแต่ละประเภทของเงินได้ สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี ประณีตศิลปกรรมหรือวิชาชีพอิสระอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้ทั้งนี้การหักค่าใช้จ่าย ผู้มีเงินได้เลือกหักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควร หรือจะหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาก็ได้ โดยการประกอบโรคศิลปะ หักเหมาได้ร้อยละ 60 ส่วนวิชาชีพอิสระอื่นหักเหมาได้ร้อยละ 30 ในทางปฏิบัติ มีประเด็นที่ขอหารือดังนี้เงินได้ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม นอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ตามมาตรา 40 (6)…

Continue Readingเงินได้ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์ฯ เป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระหรือไม่?