ทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยเกี่ยวกับการเลือกตั้งในจังหวัดชลบุรี (2)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

งานวิจัยของ โอฬาร ถิ่นบางเตียว (2554) และ บทความของ โอฬาร ถิ่นบางเตียว (2556) ได้ศึกษาโครงสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองในภาคตะวันออก โดยมีคำถามสำคัญคือ เพื่อโต้แย้งความเชื่อที่ว่า กำนันเป๊าะเป็นเจ้าพ่อภาคตะวันออกของนักวิชาการและสื่อมวลชนในขณะนั้น ด้วยการวิจัยเพื่อศึกษาอำนาจท้องถิ่นในภาคตะวันออกด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ จากนิยามของผาสุก พงษ์ไพจิตร ที่อธิบายว่า “เจ้าพ่อท้องถิ่นเป็นนาทยทุนท้องถิ่นที่มีอิทธิพลเหนือกฎหมายและเข้าไปมีบทบาททางการเมืองในระดับท้องถิ่นและ/หรือระดับชาติทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยไม่จำเป็นต้องทำผิดกฎหมายหรือใช้ความรุนแรง” นั้น โอฬาร พบว่า ทุกจังหวัดภาคตะวันออกมีนายทุนท้องถิ่นที่มีอิทธิพลเหนือกฎหมายและเข้าไปมีบทบาทควบคุมการตัดสินใจทางการเมืองในทุกระดับทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยไม่จำเป็นต้องทำผิดกฎหมาย ภาคตะวันออกจึงไม่ได้มีเจ้าพ่อเพียงคนเดียว ดังนั้น กำนันเป๊าะไม่ได้เป็นเจ้าพ่อภาคตะวันออก กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ในแต่ละจังหวัดของภาคตะวันออกต่างก็มีกลุ่มอำนาจทางการเมืองหรือกลุ่มชนชั้นนำท้องถิ่นประจำอยู่ทุกจังหวัด เช่น นอกจากตระกูลคุณปลื้มแล้ว ในภาคตะวันออกยังมีตระกูลเทียนทอง…

Continue Readingทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยเกี่ยวกับการเลือกตั้งในจังหวัดชลบุรี (2)

ทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยเกี่ยวกับการเลือกตั้งในจังหวัดชลบุรี (1)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

การทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดชลบุรี พบว่า การกำหนดนโยบายการพัฒนาในพื้นที่ดำเนินการผ่านกลุ่มบุคคลซึ่งเป็นผู้นำซึ่งมีอิทธิพลทางการเมืองกลุ่มเดิมผ่านเครือข่ายระบบอุปถัมภ์ ทำให้นโยบายและผลประโยชน์ถูกจำกัดอยู่ที่เครือข่ายชนชั้นนำของจังหวัด ซึ่งสอดคล้องกับผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2544 – 2562 ซึ่งพบว่า ผลการเลือกตั้งของจังหวัดชลบุรีเป็นการเลือกตั้งที่ยึดติดกับตัวบุคคลมากกว่าสถาบันพรรคการเมือง ดังข้อสรุปของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้ ธนณัฏฐ์ ศรีโอษฐ์ (2556) ได้ฉายภาพพัฒนาการของโครงสร้างอำนาจทางการเมืองในจังหวัดชลบุรีใน 3 ช่วงเวลา โดยมีนโยบายกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น และบริบททางการเมืองในระดับชาติเป็นเงื่อนไขของการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ในช่วง พ.ศ. 2509 – 2540 โครงสร้างอำนาจทางการเมืองพัฒนาขึ้นจากโครงสร้างระบบอุปถัมภ์ของเครือข่ายกำนันผู้ใหญ่บ้าน (เครือข่ายของท้องที่) ที่มี “นายสม”…

Continue Readingทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยเกี่ยวกับการเลือกตั้งในจังหวัดชลบุรี (1)

บันทึกผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 จังหวัดชลบุรี

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 อยู่ในสถานการณ์การประท้วงทางการเมืองมีการปิดล้อมของกลุ่ม กปปส. การรณรงค์ไม่ให้ไปเลือกตั้ง ในหลายหน่วยเลือกตั้ง ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า การเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เนื่องจากไม่ได้จัดขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศให้แล้วเสร็จภายในวันเดียวกันจึงขัดต่อรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้การเลือกตั้งต้องเป็นวันเดียวกันทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดชลบุรีได้สรุปผลการเลือกตั้งอย่างไม่ทางการ ดังนี้ จังหวัดชลบุรี มีประชาชนจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 1,029,069 คน มีผู้มาเลือกตั้ง จำนวน 416,457 คน คิดเป็นร้อยละ…

Continue Readingบันทึกผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 จังหวัดชลบุรี