การแบ่งส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม

การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักนายกรัฐมนตรีออกเป็น กรม สำนัก สำนักงาน และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม เหล่านี้อาจจำแนกได้เป็น 4 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบที่ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรมประชาสัมพันธ์ และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค           2) รูปแบบที่ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ…

Continue Readingการแบ่งส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม

การควบคุมในการบริหารราชการไทย โดยฝ่ายตุลาการ

การควบคุมในการบริหารราชการไทย โดยฝ่าตุลาการ มีลักษณะ ดังนี้ ฝ่ายตุลาการมีบทบาทโดยตรงในการควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในการบริหารราชการ โดยมีลักษณะการควบคุมตรวจสอบโดยองค์กรของศาลต่างๆ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ศาลยุติธรรม และศาลทหาร โดยเฉพาะในส่วนของ ศาลรัฐธรรมนูญ เช่น อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพิจารณาวินิจฉัยกฎหมาย ระเบียบ หรือการกระทำใดที่อาจส่งผลให้มีการขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ  การวินิจฉัยปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือองค์กร ตามรัฐธรรมนูญที่ไม่ใช่ศาล ศาลปกครอง เช่น คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย  ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่งหรือการกระทำอื่นใดเนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจ หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ และคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร เป็นต้น และในส่วนของ…

Continue Readingการควบคุมในการบริหารราชการไทย โดยฝ่ายตุลาการ

DATA LITERACY

ความรู้เกี่ยวกับข้อมูล (DATA LITERACY) หมายถึง •ความเข้าใจประเภทของข้อมูล •รู้แหล่งที่มาของข้อมูล สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง •รู้ว่าจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร วิเคราะห์ตรงจุดไหน อะไรที่จะต้องนำมาวิเคราะห์ •ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์นั้นมีความถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือได้ หรือ มีประโยชน์หรือไม่

Continue ReadingDATA LITERACY