ผลตอบแทนกับความเสี่ยง

การลงทุนใดๆ ย่อมมีความเสี่ยงในการลงทุนเสมอ เรามักจะได้ยินเสมอว่า การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงจะให้ผลตอบแทนสูง หรือ High risk high return ทั้งนี้ เพราะโดยธรรมชาติของผู้ลงทุนจะไม่ชอบความเสี่ยง ดังนั้นหากการลงทุนใดที่มีความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุนอื่นโดยที่คุณสมบัติอื่นเหมือนกันทุกประการแล้วการลงทุนนั้นย่อมไม่ได้รับความสนใจจากผู้ลงทุน ดังนั้นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุนอื่นจึงต้องเสนอผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนอื่นเพื่อดึงดูดให้นักลงทุนสนใจมาลงทุน ผลตอบแทนที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นนั้นเพื่อชดเชยความเสี่ยงที่สูงขึ้นนั้นเอง เรียกว่า “ส่วนชดเชยความเสี่ยง” หรือ “Risk premium” ดังนั้นยิ่งการลงทุนมีความเสี่ยงมากเท่าไร ย่อมต้องมีส่วนชดเชยความเสี่ยงมากขึ้น ทำให้การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงยิ่งต้องให้ผลตอบแทนสูงนั่นเอง

Continue Readingผลตอบแทนกับความเสี่ยง

การใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการตัดสินใจ: ผลิตต่อหรือขาย ณ จุดแยกออก

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ลักษณะทั่วไปของสถานการณ์: กระบวนการผลิตที่ทำให้เกิดสินค้า ณ จุดแยกออก (Split-off) หลายชนิด กิจการอาจเลือกที่จะขายสินค้าบางชนิดทันที ณ จุดแยกออก หรือสินค้าบางชนิดกิจการอาจนำไปผลิตต่อเพื่อทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม (ราคาขายสูงขึ้น) แต่การนำสินค้าไปผลิตต่อต้องมีต้นทุนเพิ่มเติม ข้อมูลที่ต้องใช้และเกณฑ์การตัดสินใจ: ข้อมูลที่ใช้ประกอบด้วย (1) ราคาขาย 2 จุดเวลาคือ จุดแยกออกและหลังการผลิตต่อ (2) ต้นทุนที่ต้องจ่ายเพิ่มในกรณีที่กิจการประสงค์จะผลิตต่อ สำหรับเกณฑ์การตัดสินใจนั้นเป็นการเปรียบเทียบรายได้ส่วนเพิ่ม (ราคาขายหลังผลิตต่อกับราคาขาย ณ จุดแยกออก) กับต้นทุนการผลิตต่อ หากรายได้ส่วนเพิ่มสูงกว่าต้นทุนส่วนเพิ่ม กิจการก็ควรนำสินค้าชนิดนั้นไปผลิตต่อ ในทางตรงกันข้าม หากรายได้ส่วนเพิ่มต่ำกว่าต้นทุนส่วนเพิ่ม…

Continue Readingการใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการตัดสินใจ: ผลิตต่อหรือขาย ณ จุดแยกออก

การใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการตัดสินใจ: ปิดโรงงานชั่วคราว

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ลักษณะทั่วไปของสถานการณ์: ยอดขายของกิจการลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จนอาจทำให้กิจการประสบผลขาดทุน (ยอดขายต่ำกว่าจุดคุ้มทุน) การปิดโรงงานชั่วคราวเพื่อรอสถานการณ์หรือดูทิศทาง/ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อกิจการว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร ซึ่งอาจกลับมาเปิดดำเนินการอีกครั้งหากสถานการณ์ดีขึ้น ข้อมูลที่ต้องใช้และเกณฑ์การตัดสินใจ: ข้อมูลใช้ประกอบด้วย (1) ยอดขายในปัจจุบัน (2) ต้นทุนการดำเนินงานโดยจำแนกเป็น (2.1) ต้นทุนเมื่อปิดโรงงานชั่วคราวคือ ต้นทุนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ (กิจการยังต้องจ่าย) รวมทั้งต้นทุนที่ต้องจ่ายเมื่อกิจการจะกลับมาเปิดโรงงานผลิตสินค้าอีกครั้งหรือ Set Up Cost (2.2) ต้นทุนคงที่รวมหากกิจการจะเปิดดำเนินการผลิตต่อไป สำหรับเกณฑ์การตัดสินใจนั้นอาจใช้วิธีคำนวณ Shutdown Point ซึ่งมีสูตรดังนี้ ต้นทุนคงที่รวม หักด้วย (ต้นทุนคงที่ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมกับ…

Continue Readingการใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการตัดสินใจ: ปิดโรงงานชั่วคราว