จริยธรรมและความเชี่ยวชาญในงานสำหรับการตรวจสอบภายใน

โดเมนที่ 2 จริยธรรมและความเชี่ยวชาญในงาน (Ethics and Professionalism) สำหรับการตรวจสอบภายใน เป็นส่วนสำคัญของมาตรฐานสากลการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายใน (Global Internal Audit Standards) โดยกำหนดกรอบการทำงานและหลักการที่ผู้ตรวจสอบภายในต้องปฏิบัติตาม เพื่อให้การตรวจสอบภายในมีความเป็นมืออาชีพและน่าเชื่อถือ มีส่วนประกอบจำนวน 5 หลักการ คือ  หลักการที่ 1 ความซื่อสัตย์ หลักการที่ 2 ความเป็นกลาง หลักการที่ 3 ความสามารถ หลักการที่ 4 ความเป็นมืออาชีพ และหลักการที่ 5 การรักษาความลับ โดยมีข้อมูลดังนี้ หลักการที่ 1 ความซื่อสัตย์ (Demonstrate Integrity) ผู้ตรวจสอบภายในต้องมีความซื่อสัตย์ในหน้าที่ความรับผิดชอบของตน พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อเท็จจริงแม้อยู่ในสภาวะที่มีแรงกดดัน โดยไม่ให้ข้อมูลเท็จ ที่ทำให้เกิดการเข้าใจผิด หรือปกปิดละเว้นข้อมูลที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของกิจการ ดังนั้นหัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายในต้องเป็นผู้รักษาสภาพแวดล้อมการปฏิบัติงานตามข้อกำหนดและหลักฐาน อีกทั้งเคารพกฎหมาย กฎระเบียบ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง  หลักการที่ 2 ความเป็นกลาง (Maintain Objectivity) ผู้ตรวจสอบภายในมีความเป็นกลางในการรวบรวม ประเมินผล รายงานข้อมูล…

Continue Readingจริยธรรมและความเชี่ยวชาญในงานสำหรับการตรวจสอบภายใน

มาตรฐานสากลการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายใน

มาตรฐานสากลการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายใน (Global Internal Audit Standards) คือ แนวทางการปฏิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายใน  โดยฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้เดือนมกราคม 2568 (ค.ศ. 2025) มีองค์ประกอบ 5 โดเมน 15 หลักการ ประกอบด้วย             1. วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบภายใน (Purpose of Internal Auditing)             2. จริยธรรมและความเชี่ยวชาญอย่างมืออาชีพ (Ethics and Professionalism)                          หลักการที่ 1 ความซื่อสัตย์ (Demonstrate Integrity)                         หลักการที่ 2 ความเป็นกลาง (Maintain Objectivity)                         หลักการที่ 3 ความสามารถ (Demonstrate Competency)                         หลักการที่ 4 ความเป็นมืออาชีพ (Exercise Due Professional…

Continue Readingมาตรฐานสากลการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายใน

แนวทางในการจัดการการเงิน (How to do financial management?)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

1) การปรับปรุงกระแสเงินสดของกิจการให้มีสภาพคล่อง สะท้อนถึงความสามารถของกิจการในการทำกำไรจากการดำเนินงาน (Operation Profit) หรือเรียกว่ากำไรก่อนต้นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้ (Earnings Before Interest and Tax: EBIT) โดยจะต้องคำนึงถึงรายได้จากการขายหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานหลังภาษีเงินได้ โดยกิจการจะต้องควบคุมรายได้รวมให้สูงสุด และค่าใช้จ่ายรวมให้ต่ำสุด และเมื่อนำมาหักจำนวนเงินลงทุนในสินทรัพย์ที่ใช้ดำเนินงานก็จะได้เงินสดที่จะได้รับหรือจ่ายไป ซึ่งอาจเรียกว่า กระแสเงินสดอิสระ (Free Cash Flow: FCF) ที่จะส่งผลต่อสภาพคล่อง (Liquidity) ของกิจการได้ โดยสภาพคล่องของกิจการจะเกิดขึ้นเมื่อกิจการใช้ประเภทเงินทุนให้เหมาะสมในการลงทุนในสินทรัพย์แต่ละประเภท มีการควบคุมจังหวะเวลาของกระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่ายในปัจจุบันและในอนาคตให้สอดคล้องกัน เช่น กิจการมีการถือเงินสดหรือสินทรัพย์หมุนเวียนที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายและในปริมาณเพียงพอต่อการชำระหนี้สินหมุนเวียนที่ถึงกำหนดได้ ก็จะทำให้กิจการมีสภาพคล่องสูง…

Continue Readingแนวทางในการจัดการการเงิน (How to do financial management?)