Concept of Cycle of Service

วงจรบริการ (Cycle of Service) คือ ช่วงเวลาของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้รับบริการและผู้ให้บริการ นับตั้งแต่จุดเริ่มต้นที่ลูกค้าได้เข้าสู่กระบวนการให้บริการขององค์การนั้น ๆ จนกระทั่งสิ้นสุดการบริการ เป็นชุดเหตุการณ์ที่ผู้รับบริการต้องประสบในระหว่างการรับบริการและเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นลูกโซ่ ซึ่งประกอบด้วยเหตุการณ์ที่ผู้ให้บริการและผู้รับบริการได้มีปฏิสัมพันธ์กันทั้งทางอ้อมและทางตรง ช่วงเวลาของความจริง (Moment of Truth) คือ ช่วงเวลาที่มีการปฏิสัมพันธ์กันทางตรงเป็นเหตุการณ์ที่มีการเผชิญหน้ากันของผู้ให้และผู้รับบริการ เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ผู้ให้บริการมีโอกาสที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการ (สุรีย์ เข็มทอง 2553) ด้วยการแสดงความเอาใจใส่ด้วยอัธยาศัยไมตรีและกระตือรือร้น เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ประทับใจ

Continue ReadingConcept of Cycle of Service

การควบคุมการปฏิบัติงานและพฤติกรรมบุคลากรด้วยหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติราชการ

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 76  ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้งและเลื่อนเงินเดือน  ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด  และหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ (หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร. 1012/ว20 ลงวันที่ 3 กันยายน 2552) มีข้อกำหนดที่ใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันสำหรับทุกส่วนราชการให้การประเมินจะต้องพิจารณาจากอย่างน้อย 2 องค์ประกอบหลัก คือองค์ประกอบที่ 1 ผลสัมฤทธิ์ของงาน โดยให้น้ำหนักผลสัมฤทธิ์ของงานอย่างน้อยร้อยละ 70 และองค์ประกอบที่ 2…

Continue Readingการควบคุมการปฏิบัติงานและพฤติกรรมบุคลากรด้วยหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติราชการ

รูปแบบของการควบคุม

1. การควบคุมการปฏิบัติงาน หมายถึง การติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานต่างๆในองค์การ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้  เครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมการปฏิบัติงาน ได้แก่ การกำหนดแผนงานประจำวัน และการจัดทำแผนภูมิแกนต์ (Gantt Chart) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการควบคุมการปฏิบัติงานที่แสดงกิจกรรม ระยะเวลา และสถานภาพปัจจุบันของกิจกรรมต่างๆ มีลักษณะเป็นตารางแนวนอนและแผนภูมิแท่ง โดยกิจกรรมอยู่ด้านซ้ายมือและระยะเวลาอยู่ด้านขวา เพื่อช่วยให้ผู้บริหารองค์การควบคุมการปฏิบัติงานได้เมื่อพิจารณาความคืบหน้าของแต่ละกิจกรรม 2. การควบคุมการเงิน หมายถึง การติดตามตรวจสอบการเงินและการใช้จ่ายเงินขององค์การ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ เช่น การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน การตั้งงบประมาณระบบพีพีบีเอส และการควบคุมสินค้าคงคลัง เป็นต้น 3. การควบคุมเวลา หมายถึง…

Continue Readingรูปแบบของการควบคุม