แผนยุทธศาสตร์ชาติ

ยุทธศาสตร์ชาติ คือ เป้าหมายระยะยาวในการพัฒนาประเทศ เพื่อใช้เป็นกรอบในการกำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีก่อนที่จะเข้ามาบริหารประเทศ และก่อนที่จะมีการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติและแผนระดับอื่นๆ รวมทั้งการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐด้วย (คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ, 2561) เหตุที่ได้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ เพราะที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่เคยมีแผนการพัฒนาประเทศในระยะยาวที่ใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาประเทศ ขณะที่ในหลายประเทศที่พัฒนาแล้วให้ความสำคัญกับแผนระยะยาว เช่น ประเทศฝรั่งเศสที่ออกแบบแผนพัฒนาประเทศในระยะ 10 ปี หรือประเทศสิงคโปร์ที่วางยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะ 20 ปี ทั้งนี้เพื่อวางเป้าหมายร่วมกันในระยะยาวของประเทศและเพื่อเป็นกลไกเตรียมรับความท้าทายและสิ่งที่ต้องได้รับการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเพื่อให้ภาคส่วนต่างๆ ใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนให้สอดคล้องและบูรณาการกัน ทั้งนี้สอดคล้องกับในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 65 ได้กำหนดให้รัฐจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่างๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว…

Continue Readingแผนยุทธศาสตร์ชาติ

การใช้เงินทุนของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในตลาดหลักทรัพย์ไทย

รองศาสตราจารย์ ดร.กัลยานี ภาคอัต การอธิบายถึงการใช้เงินทุนของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SMEs ในตลาดหลักทรัพย์ไทย อธิบายโดยใช้ข้อมูลจริงของ SMEs ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ในช่วงระยะเวลาปี 2561 – 2563 ที่แสดงให้เห็นว่า  นโยบายการเงินของผู้บริหารในการจัดการเงินทุนเป็นไปตามทฤษฎีโครงสร้างเงินทุนหรือไม่ จากข้อมูลของแต่ละธุรกิจพบว่า  SMEs ทั้งหมด หรือทุกธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ใช้หนี้สินระยะสั้นในการดำเนินงานแต่ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน  ส่วนหนี้สินระยะยาวนั้น  อาจกล่าวได้ว่า แต่ละธุรกิจมีนโยบายแตกต่างกัน  บางธุรกิจใช้หนี้สินระยะยาวเพื่อลงทุนในโครงการลงทุนค่อนข้างสูง …

Continue Readingการใช้เงินทุนของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในตลาดหลักทรัพย์ไทย

ปรัชญาแห่งศาสตร์ (ตอนที่ 5) : การวิจัยเชิงคุณภาพ

การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีปรัชญาที่อยู่เบื้องหลังการวิจัย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่1. ภววิทยา (Ontology) การวิจัยเชิงคุณภาพมีฐานคติ (Assumption) ว่า ความรู้ความจริงเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น นักวิจัยสร้างความรู้ความจริงและสร้างความหมายให้กับสิ่งต่างๆจากการมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) กับผู้ถูกวิจัยในบริบทหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ดังนั้นนักวิจัยจึงใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล2. ญาณวิทยา (Epistemology) การแสวงหาและการเข้าถึงความรู้ความจริงนั้น นักวิจัยจะต้องเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในโลกของผู้ถูกวิจัย (Conceptual World) มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด และสนิทสนมกัน จนเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ ซึ่งจะทำให้ผู้วิจัยตีความหมาย (Interpretation) ข้อมูลและมโนทัศน์ต่างๆได้ตามบริบทหรือปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงได้3. วิธีวิทยา…

Continue Readingปรัชญาแห่งศาสตร์ (ตอนที่ 5) : การวิจัยเชิงคุณภาพ