การบริหารจัดการเครือข่าย : ประเภทของเครือข่าย

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

การบริหารจัดการเครือข่าย : ประเภทของเครือข่าย[1] การดำเนินงานขององค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือองค์กรในภาคส่วนอื่นๆ ต่างมีพันธกิจ        ที่จะต้องดำเนินการให้สัมฤทธิผลด้วยกันทั้งสิ้น สำหรับการดำเนินงานขององค์กรภาครัฐมีพันธกิจที่ต้องดำเนินงานให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนตามที่กฎหมายกำหนด การให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนในหลายๆ ส่วนเป็นการดำเนินพันธกิจที่ต้องร่วมกันดำเนินงานระหว่างองค์กรภาครัฐด้วยกันเอง องค์กรภาครัฐกับภาคประชาชน หรือองค์กรภาครัฐร่วมกับองค์กรภาคอกชน การดำเนินงานร่วมกันนี้ได้สร้างเครือข่ายการดำเนินงานให้เกิดขึ้น สมาชิกของเครือข่ายจะแบ่งบทบาทและภาระหน้าที่ในการดำเนินงาน มีการร่วมกันดำเนินงานเพื่อให้เป้าหมายร่วมบรรลุผลสำเร็จ มีการประสานงาน มีการสื่อสารระหว่างกัน มีการช่วยเหลือ สนับสนุนการทำงานร่วมกันของฝ่ายต่าง ๆ  การดำเนินงานร่วมกันระหว่างองค์กรในภาคส่วนต่างๆ ด้วยวิธีการที่เหมาะสมจะก่อให้เกิดเครือข่ายการดำเนินงานร่วมกัน ก่อให้เกิดพลังร่วมในการดำเนินงานและเป็นกลไปในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามพันธกิจให้บรรลุเป้าหมาย ดังนั้นการเกิดขึ้น การสร้าง การพัฒนา การธำรงรักษาเครือข่ายจึงจำเป็นต้องมีแนวคิด หลักการ และวิธีการบริหารจัดการเครือข่ายที่ถูกต้องและเหมาะสมทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานของเครือข่ายบรรลุเป้าหมายร่วมกัน ด้วยพันธกิจและวิธีการดำเนินงานเฉพาะตัวของเครือข่ายต่างๆ ส่งผลให้มีเครือข่ายหลากชนิด…

Continue Readingการบริหารจัดการเครือข่าย : ประเภทของเครือข่าย

การจัดการปกครองสาธารณะแนวใมห่:องค์ประกอบที่จำเป็นต้องมี

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

                        การจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่:องค์ประกอบที่จำเป็นต้องมี[1]                         เพื่อให้เข้าใจคำว่าการปกครองสาธารณะแนวใหม่ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ควรจะต้องศึกษาถึงองค์ประกอบสำคัญของการจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่ หรือ NPG องค์ประกอบดังกล่าวตามทัศนะของ   สมศักดิ์ สามัคคีธรรม และปรีดา วานิชภูมิ[2].(2556,207-209) ที่กล่าวถึงว่าองค์ประกอบของการจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่จะ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ประการคือ 1) การกระจายอำนาจสู่รัฐบาลท้องถิ่นและภาคประชาสังคม  2) การมีส่วนร่วมการจัดทำบริการสาธารณะจากภาคส่วนต่างๆ  และ 3) การดำเนินงานด้านการให้บริการสาธารณะของภาคส่วนต่างๆ ในรูปแบบของเครือข่าย ประการแรก การจัดทำบริการสาธารณะนั้นรัฐบาลจะต้องกระจายอำนาจทางการปกครองไปสู่องค์กรในภาคส่วนอื่น โดยเฉพาะการกระจายไปสู่รัฐบาลท้องถิ่นและภาคประชาสังคม รวมทั้งการถ่ายโอนอำนาจทางการเมืองและทรัพยากร…

Continue Readingการจัดการปกครองสาธารณะแนวใมห่:องค์ประกอบที่จำเป็นต้องมี

กระบวนทัศน์ใหม่สำหรับการบริหารรัฐกิจ:การจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่แบบร่วมมือ

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

กระบวนทัศน์ใหม่สำหรับการบริหารรัฐกิจ : การจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่แบบร่วมมือ[1]                         การบริหารรัฐกิจเป็นการบริหารที่เกี่ยวกับการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนโดยรัฐบาลเป็นผู้กำหนดนโยบาย และองค์กรภาครัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ พนักงานราชการหรือบุคลากรประเภทอื่นที่เรียกโดยรวมว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้นำนโยบายไปปฏิบัติโดยการกำหนดยุทธศาสตร์ แผน แผนงานและโครงการ เมื่อนำไปดำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติจำเป็นต้องมีการวางแผน การจัดองค์การ การนำ และการควบคุม โดยมีกฎหมาย กฎและระเบียบ แนวทางและวิธีการ และประเพณีการบริหารราชการเป็นกรอบในการดำเนินนโยบายของรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของมหาชนเพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีมาตรฐานการครองชีพในระดับสากลของประชาชนชาวไทย ซึ่งในการดำเนินงานให้บริการสาธารณะขององค์กรภาครัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และองค์กรของรัฐอื่นๆ นี้ถือเป็นองค์การสาธารณะซึ่งจะมีกระบวนทัศน์ในการบริหารเป็นกรอบในการบริหารราชการของไทย เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปแล้วว่าการบริหารราชการของประเทศไทยได้มีการดำเนินงานและมีการพัฒนามาโดยตลอดและมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจากราชอาณาจักรสุโขทัย อยุธยาและมาจนถึงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน การบริหารราชการไทยในปัจจุบันได้จัดทำบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนโดยยึดกระบวนทัศน์ในการบริหารภาครัฐเป็นแนวทางในการดำเนินงานจากอดีดจนถึงปัจจุบันมีดังนี้                         กระบวนทัศน์การบริหารองค์การสาธารณะ…

Continue Readingกระบวนทัศน์ใหม่สำหรับการบริหารรัฐกิจ:การจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่แบบร่วมมือ