การสร้างกำไรด้วยโรบอทเทรดในหุ้นยุคดิจิทัล

รองศาสตราจารย์ ดร.กัลยานี ภาคอัต ในโลกยุคดิจิทัลไม่อาจหลีกเลี่ยงกลไกสมองกลอัจฉริยะ  โดยเฉพาะเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ที่ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในทุกๆ อุตสาหกรรม  รวมถึงอุตสาหกรรมทางการเงินและการลงทุนก็ได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีอันล้ำยุคที่มีความก้าวล้ำไปอย่างมากมายเช่นกัน  จึงไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ของอุตสาหกรรมการเงินและการลงทุน  ที่จะนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์  ซึ่งได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว  และรู้จักกันในชื่อ “โรบอทเทรด (Robot Trade)” เป็นเทคโนโลยีที่ถูกสร้างขึ้น  มาช่วยในการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ โดยเฉพาะการซื้อขายหุ้น การนำโรบอทเทรดมาซื้อขายหุ้นแทนคน ต้องมีขั้นตอนในการสร้างกลยุทธ์ และทดสอบว่ากลยุทธ์สามารถทำกำไรได้จริงตามกลยุทธ์ที่คิดค้นไว้หรือไม่  ดังนั้น ก่อนที่จะนำโรบอทเทรดเพื่อซื้อขายหุ้นจะต้องมีขั้นตอนการทดสอบว่าสามารถทำกำไรได้จริง  โดยมีเทคนิคการทดสอบประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ       1. การแบ่งช่วงการทดสอบกลยุทธ์ …

Continue Readingการสร้างกำไรด้วยโรบอทเทรดในหุ้นยุคดิจิทัล

กลยุทธ์ทางการเงินเอาตัวรอดในยุควิกฤตโควิด-19

รองศาสตราจารย์ ดร.กัลยานี ภาคอัต           การนำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับกลยุทธ์ทางการเงินเอาตัวรอดในยุคโควิด-19 เป็นการรวบรวมข้อมูลจริงเกี่ยวกับการใช้กลยทุธ์การเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยในช่วงระยะเวลาปี 2563 – 2564  ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจในประเทศไทยชะลอตัว และการใช้นโยบายของภาครัฐ  เป็นผลให้การดำเนินงานของแต่ละธุรกิจ/บริษัทไม่บรรลุตามเป้าหมาย  บางธุรกิจแสดงผลการดำเนินงานของกำไรสุทธิลดลง หรือประสบผลขาดทุน  ผู้บริหารต้องเร่งปรับเปลี่ยนกลยุทธ์จนถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ  เพื่อการอยู่รอดและรักษาธุรกิจให้ผ่านวิกฤตครั้งนี้            กลยุทธ์การเงินหนึ่งที่ผู้บริหารของทุกธุรกิจ/บริษัทให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก และมั่นใจว่าสามารถเอาชนะวิกฤตครั้งนี้ได้คือ กลยุทธ์การรักษาสภาพคล่องทางการเงินให้ดีที่สุดตลอดระยะเวลาที่มีปัญหา  ซึ่งจะพบว่า ทุกธุรกิจพยายามเร่ง และหาแนวทางในการเพิ่มเงินสดให้กับธุรกิจ  ดังนั้น  กลยุทธ์ทางการเงินเอาตัวรอดในยุคโควิด-19 ที่นำมาใช้คือ           1. การเปลี่ยนสินทรัพย์ให้เป็นเงินสด…

Continue Readingกลยุทธ์ทางการเงินเอาตัวรอดในยุควิกฤตโควิด-19

สิ่งใดเป็นตัวบ่งชี้ว่า ผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณค่าหรือไม่

คุณค่าผลิตภัณฑ์ (Product Value)คือสิ่งที่ลูกค้าประเมินจากปัจจัยหลายๆประการว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณค่าต่อเขาเพียงใดซึ่งเป็นการประเมินโดยปักเจกชน แต่ละบุคคลอาจประเมินไม่เหมือนกันทำให้คุณค่าผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดมีคุณค่าต่อลูกค้าแต่ละคนไม่เท่ากัน อย่างไรก็ตามนักการตลาดพยายามที่จะสร้างตัวแบบของการประเมินคุณค่าผลิตภํณฑ์ของลูกค้าโดยรวมว่า หนีไม่พ้นปัจจัยเหล่านี้ในการประเมินของลูกค้าคือ  คุณค่ารวม (Total Customer Value) และต้นทุนของลูกค้า (Customer Cost) หรือสิ่งที่ลูกค้าสูญเสีย โดยนำมาหักกลบลบหนี้กันกลายเป็นคุณค่าที่ลูกค้าได้รับ (Customer Delivered Value) หากลูกค้าได้รับมากกว่าสิ่งที่เขาต้องสูญเสีย ลูกค้าก็จะรู้สึกว่า คุ้มที่จะซื้อสินค้าหรือบริการนั้นๆ ตัวแบบ (Model) ในการเพิ่มคุณค่าให้กับลูกค้า 1. คุณค่ารวมที่ลูกค้าได้รับ ประกอบไปด้วย               1.1…

Continue Readingสิ่งใดเป็นตัวบ่งชี้ว่า ผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณค่าหรือไม่