การเจรจาต่อรองด้านการจ้างงาน เป็นกระบวนการเจรจาร่วมกันของฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง เพื่อกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างงาน ผ่านขั้นตอนและวิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมาย ด้วยความมุ่งหมายที่จะให้ทั้งสองฝ่ายนั้นตกลงกันได้(ทิพวรรณ บุณย์เพิ่ม, 2558) การเจรจาต่อรองด้านการจ้างงานนับว่าเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ดีอย่างหนึ่ง ที่มีผลทำให้เกิดการประนีประนอมระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้างงานและปัญหาในการปฏิบัติงาน ทำให้บรรเทาความรุนแรงในการเผชิญกับข้อขัดแย้งทางด้านแรงงาน รวมทั้งยังเป็นการกระจายรายได้ให้แก่ลูกจ้างอย่างเป็นธรรมอีกด้วย เหตุผลที่จำเป็นต้องมีการเจรจาต่อรองด้านการจ้างงาน มีดังนี้คือ กระบวนการเจรจาต่อรองและผลจากการเจรจาต่อรองนั้นก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างลูกจ้างและนายจ้างการเจรจาต่อรองเป็นทางออกที่ดีทางหนึ่งของการแก้ไขข้อพิพาททางด้านแรงงานที่สังคมยอมรับในปัจจุบันยังไม่มีวิธีใดที่ดีกว่าการเจรจาต่อรอง ที่ทำให้ทราบถึงความต้องการและเหตุผลที่แท้จริงของฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง ในการรักษาผลประโยชน์ทั้งของตนและของทั้งสองฝ่าย วัตถุประสงค์ในการเจรจาต่อรองด้านการจ้างงาน การเจรจาต่อรองร่วมกันระหว่างฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง แบ่งวัตถุประสงค์ออกเป็น 2 ลักษณะ คือ วัตถุประสงค์ตามความต้องการของฝ่ายนายจ้าง และวัตถุประสงค์ตามความต้องการของฝ่ายลูกจ้าง 1.…