ต้นทุนเงินทุน (4)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ต้นทุนเงินทุนของหุ้นบุริมสิทธิ หากจัดหาเงินทุนจากหุ้นบุริมสิทธิ ซึ่งกิจการจะต้องจ่ายผลตอบแทนในรูป เงินปันผล เช่นเดียวกับหุ้นสามัญ แต่มีความแตกต่างจากหุ้นสามัญในเรื่องอัตราของเงินปันผล โดยที่หุ้นบุริมสิทธิจะกำหนดอัตราเงินปันผลไว้แน่นอน kp    =     Dp / P0             เมื่อ                   kp         =          ต้นทุนเงินทุนของหุ้นบุริมสิทธิ                                     Dp        =          เงินปันผลต่อหุ้นบุริมสิทธิ                                     P0         =          ราคาตลาดของหุ้นบุริมสิทธิต้นทุนเงินทุนของกำไรสะสม เมื่อกิจการดำเนินงานมาช่วงเวลาหนึ่ง กิจการอาจมีผลกำไรจากการดำเนินงานสะสมมา กิจการมีแนวทางในการจัดการกับกำไรสะสมจำนวนนี้โดยอาจนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น หรือจัดสรรบางส่วนไว้สำหรับการขยายงานในอนาคต ต้นทุนเงินทุนของกำไรสะสมจะอยู่ในรูปของต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity…

Continue Readingต้นทุนเงินทุน (4)

ต้นทุนเงินทุน (3)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ต้นทุนเงินทุนของส่วนของเจ้าของ เงินทุนจากส่วนของเจ้าของจะประกอบไปด้วย เงินทุนจากหุ้นสามัญ เงินทุนจากหุ้นบุริมสิทธิ และเงินทุนจากกำไรสะสม โดยที่ต้นทุนเงินทุนส่วนของเจ้าของ คือ เงินปันผล (Dividend) ที่กิจการจะต้องจ่ายเพื่อเป็นการตอบแทนการใช้เงินทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นกรณีเป็นหุ้นที่มีอยู่เดิม และในกรณีที่เป็นเงินทุนจากส่วนของเจ้าของที่กำลังพิจารณาจัดหาเพิ่มเติม ต้นทุนเงินทุนจะประกอบไปด้วย เงินปันผล และค่าใช้จ่ายในการขายหุ้น ต้นทุนเงินทุนของหุ้นสามัญ การคำนวณต้นทุนเงินทุนของทุนหุ้นสามัญ สามารถคำนวณได้จากตัวแบบเงินปันผล หรือตัวแบบการตีราคาสินทรัพย์ ดังนี้ 1.1 ตัวแบบเงินปันผล คำนวณได้โดย ks = (D1/P0) - g เมื่อ                ks         =         …

Continue Readingต้นทุนเงินทุน (3)

ต้นทุนเงินทุน (2)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ต้นทุนเงินทุนของหนี้สิน ในการจัดหาเงินทุนจากหนี้สิน อาจเป็นการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน หรือการออกตราสารหนี้ เงินทุนที่มาจากการก่อหนี้มีต้นทุนคือ ดอกเบี้ยจ่าย (Interest Expense) ซึ่งถือเป็นภาระผูกพันทางการเงินที่กิจการผู้จัดหาเงินทุนต้องจ่ายไม่ว่ากิจการจะมีผลกำไรหรือขาดทุน และต้องจ่ายภาระผูกพันนี้ตลอดอายุของหนี้ อย่างไรก็ตาม การที่กิจการระดมเงินทุนจากหนี้สินจะสามารถนำดอกเบี้ยจ่ายไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรขาดทุนทางภาษีอากรได้ ส่งผลให้เสียภาษีน้อยลง ซึ่งถือเป็นผลประโยชน์ทางภาษีจากการมีดอกเบี้ยจ่าย หรือที่เรียกว่า “Tax Shield” ดังนั้น ต้นทุนเงินทุนของหนี้สินจะต้องพิจารณาหลังจากผลกระทบของภาษีแล้ว กล่าวคือ ต้นทุนเงินทุนของหนี้สินจะต่ำลงด้วยผลประโยชน์ทางภาษีที่ยกตัวอย่างข้างต้น สามารถคำนวณต้นทุนเงินทุนหนี้สินหลังหักภาษีได้จากสูตร                                                 kdt        =          kd(1-t)                                     เมื่อ      …

Continue Readingต้นทุนเงินทุน (2)