สาระสำคัญของของกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

สาระสำคัญในบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ที่กำหนดขึ้น ได้แก่ 1) ปรับปรุงระบบตำแหน่งและประเภทตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสมกับลักษณะงานเพื่อจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรม 2) ให้มีกระบวนการสรรหาบุคคลในระบบเปิด เพื่อบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ และเพื่อแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งในบางกรณี 3) กระจายอำนาจการบริหารทรัพยากรบุคคลให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการมากขึ้น 4) ปรับปรุงระบบวินัย อุทธรณ์ และร้องทุกข์ ให้มีความเข้มแข็ง และ 5) มีการจัดตั้งคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ซึ่งอธิบายแต่ละส่วนได้ดังนี้ (ธนวัฒน์ โลหะเวช, 2557: น. 11 – 15)…

Continue Readingสาระสำคัญของของกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

พัฒนาการของกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

พัฒนาการของกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนซึ่งเป็นกฎหมายหลักของการวางระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐของไทย สามารถอธิบายได้ผ่านกฎหมายว่าระเบียบข้าราชการพลเรือนซึ่งประกาศใช้บังคับมาแล้วในฉบับต่างๆ  ซึ่งแต่ละฉบับมีสาระสำคัญที่ควรทำความรู้จักดังนี้ (ธนวัฒน์ โลหะเวช, 2556: น. 5 - 10) 1. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พุทธศักราช 2471 กฎหมายฉบับนี้ถือเป็นฉบับแรกที่ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน  ตราขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2472 ซึ่งมีคำปรารภที่น่าสนใจดังนี้ “โดยที่มีพระราชประสงค์จะทรงวางระเบียบข้าราชการพลเรือนให้เป็นไปในทางเลือกสรรผู้มีความรู้และความสามารถเข้ารับราชการเป็นอาชีพ ไม่มีกังวลด้วยการแสวงผลประโยชน์ในทางอื่น ส่วนฝ่ายข้างราชการก็ให้ได้ประโยชน์ยิ่งขึ้น เนื่องจากความสะพรั่งพร้อมด้วยข้าราชการซึ่งมีความสามารถและรอบรู้ในวิธีและอุบายของทางราชการ กับทั้งหน้าที่และวินัยอันตนพึงรักษาเป็นนิตยกาล” สำหรับสาระสำคัญในกฎหมายฉบับนี้ มีดังนี้…

Continue Readingพัฒนาการของกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2561 – 2565)

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติถือเป็นแผนแม่บทยุทธศาสตร์ของชาติที่สำคัญมีผลผูกพันต่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศของรัฐบาลในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งระยะเวลาใช้บังคับแผนฯ คือ 5 ปี นอกจากแผนฉบับแรกที่ใช้ชื่อว่าแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ (ไม่มี “และสังคม”) ใช้บังคับ 6 ปี ซึ่งฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2561 – 2565) ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2560) 1. กรอบแนวคิดและหลักการ ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2561 - 25645 ประเทศไทยจะยังคงประสบสภาวะแวดล้อมและบริบทของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ…

Continue Readingแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2561 – 2565)