การออกแบบการวิจัยการตลาด

            การออกแบบการวิจัยการตลาด เป็นการออกแบบกระบวนการในการเก็บ รวบรวม วิเคราะห์ ตีความ และรายงานข้อมูลทางการตลาดของสินค้าและบริการอย่างเป็นระบบ มีระเบียบ แบบแผน ที่ใช้ในการจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ โดยเริ่มตั้งแต่การเก็บรวบรวม บันทึก ประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูล แปลความหมายของผลที่ได้ และการนำเสนอข้อมูลหรือการรายงานผลการวิจัยเพื่อใช้ดำเนินงานและตัดสินใจทางการตลาด             การวิจัยการตลาด หมายถึง กระบวนการและขั้นตอนในการออกแบบ เก็บรวบรวม ดำเนินการวิเคราะห์และประมวล ข้อมูลด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตลาด เช่น ข้อมูลภายในองค์กรธุรกิจเอง ข้อมูลของลูกค้า ข้อมูลของคู่แข่งขัน และสภาพการแข่งขันในธุรกิจ ฯลฯ…

Continue Readingการออกแบบการวิจัยการตลาด

การออกแบบการวิจัยสำหรับตลาดที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง

            ในปัจจุบันสภาพการแข่งขันทางธุรกิจทวีความรุนแรงมากขึ้น องค์กรธุรกิจจึงต้องการข้อมูลทางการตลาดเพื่อตัดสินใจทางการตลาดในหลากหลายด้าน ทั้งส่วนประสมทางการตลาด การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค ทัศนคติ รสนิยม และความพึงพอใจของลูกค้า ความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ ที่วางจำหน่ายในท้องตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การพิจารณาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าหรือผู้บริโภคให้ได้ดีที่สุด การวิจัยและศึกษาความเป็นไปได้ทางธุรกิจ ฯลฯ ซึ่งองค์กรธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากผลที่ได้จากการวิจัยการตลาดเพื่อช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินงานด้านการตลาดต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น             การออกแบบการวิจัย (Research Design) หมายถึง การกำหนดแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน โดยมีการกำหนดรูปแบบหรือโครงร่างในการทำวิจัยไว้ล่วงหน้า ศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง วางกรอบและกำหนดขอบเขตและวางรูปแบบในการวิจัย และรูปแบบในการเก็บรวบรวมข้อมูล กำหนดรูปแบบและระเบียบวิธีวิจัยให้เหมาะสมกับลักษณะของงานวิจัยที่ต้องการทำ โดยผู้วิจัยควรต้องมีการระบุกิจกรรมและรายละเอียดของกิจกรรมต่างๆ เริ่มตั้งแต่…

Continue Readingการออกแบบการวิจัยสำหรับตลาดที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง

การพัฒนาอย่างยั่งยืนตาม BCG Model ของไทย

โมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของไทย ให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลระหว่างการดูแลทรัพยากรธรรมชาติกับการสร้างมูลค่า (value creation) หรือกล่าวได้ว่าการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจใน 4 สาขาหลัก ได้แก่1. สาขาเกษตรและอาหาร2. สาขาพลังงานและวัสดุ3. สาขาสุขภาพและการแพทย์4. สาขาการท่องเที่ยวและบริการ เพื่อสร้างความยั่งยืนแก่การพัฒนามีการรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบมลพิษ เพอ่มอัตราเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างความมั่นคงทงอาหาร สุขภาพและพลังงาน เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันที่กำลังเผชิญกับปัญหาของเมืองขนาดใหญ๋ มีประชากรแฝงในเมืองที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ปัญหามลภาวะ ค่า P.M. 2.5 ปัญหาการคมนาคมขนส่งทีมีความแออัด จึงได้มีการนำแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG มาใช้ เพื่อแก้ปัญหา BCG…

Continue Readingการพัฒนาอย่างยั่งยืนตาม BCG Model ของไทย