ข้อควรพิจารณาของการเป็นบริษัทจดทะเบียน

ข้อควรพิจารณาของการเป็นบริษัทจดทะเบียน การเปลี่ยนสภาพกิจการเป็นบริษัทมหาชนและขออนุญาตเสนอขายหุ้นต่อประชาชน หรือ ที่เรียกว่าการทำ IPO นั้นกิจการจำเป็นต้องพิจารณาถึงประโยชน์ และ ข้อจำกัดต่างๆที่จะเกิดขึ้นจากการนำธุรกิจเข้าสู่การเป็นบริษัทมหาชน ประโยชน์ของการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นั้นมีอยู่มากมายหลายประการ ได้แก่  การนำธุรกิจสู่การเป็นบริษัทมหาชน จะทำให้กิจการต้องจัดระบบการควบคุมภายใน จัดระบบการจัดการ และมีระบบการรายงานทางการเงินที่น่าเชื่อถือมากขึ้น  กระตุ้นให้บริษัทต้องสร้างศักยภาพ และ ความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น เนื่องจากจะได้รับแรงกดดันจากผู้มีส่วนได้เสียที่หลากหลายมากขึ้น นอกจากนี้ วงเงินกู้ที่ได้รับจากสถาบันการเงินนั้นจะสูงขึ้น รวมถึง ดอกเบี้ยจ่ายจะต่ำลง จากการที่บริษัทมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นในฐานะที่เป็นบริษัทมหาชน  กิจการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น เช่น การออกหุ้นกู้ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยทำให้บริษัทมีฐานของทุนที่แข็งแรงขึ้นกว่าในอดีต นอกจากนี้ บริษัทจะได้รู้มูลค่าที่แท้จริงของกิจการ…

Continue Readingข้อควรพิจารณาของการเป็นบริษัทจดทะเบียน

การนำธุรกิจสู่การเป็นบริษัทมหาชน (Going Public)

การนำธุรกิจสู่การเป็นบริษัทมหาชน จะเป็นคำตอบของทุกกิจการหรือไม่ เมื่อธุรกิจมีความเจริญก้าวหน้าและเติบโตได้ในระยะเวลาหนึ่งอย่างมั่นคงแล้ว  ผู้ประกอบการอาจคิดถึงการขยายตัวของกิจการให้เติบโตยิ่งๆขึ้นไป หนึ่งในกระบวนการดังกล่าว ได้แก่ การนำบริษัทจำกัด ไปสู่การเป็นบริษัทมหาชน (Going Public)  หรือ การขออนุญาตให้บริษัทเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า การทำ IPO (Initial Public offering) ซึ่งเป็นกระบวนการที่จะทำให้บริษัทได้มาซึ่งเงินทุน และเปลี่ยนสถานภาพของธุรกิจ จากการเป็นบริษัทจำกัด สู่ การเป็นบริษัทมหาชน ด้วยการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า กระบวนการดังกล่าวนั้น เป็นคำตอบของกิจการหรือไม่ อย่างไรได้แก่ การพิจารณาเงื่อนไข และ…

Continue Readingการนำธุรกิจสู่การเป็นบริษัทมหาชน (Going Public)

การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีกับทิศทางการบริหารราชการไทย

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ทิศทางการบริหาราชการไทยจะเป็นอย่างไรย่อมขึ้นอยู่กับหลักการบริหารที่ระบบราชการไทยให้เป็นหลักในการบริหารและดำเนินการในช่วงนั้น ซึ่งการบริหารราชการไทยนับตั้งแต่มีการประการศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ประกาศใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2562 ตลอดจนมีการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เป็นต้นมา การบริหารราชการไทยจะอาศัยหลักธรรมาภิบาลหรือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) เป็นหลักการสำคัญในการบริหารและพัฒนาระบบราชการไทย ดังจะเห็นได้จากมาตรา 3/1ของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545…

Continue Readingการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีกับทิศทางการบริหารราชการไทย