การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติงานที่ดีของคณะกรรมการหมู่บ้าน

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ในส่วนนี้ผู้เขียนได้นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาในหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่อง “The Village Committee and Public Service Promotion” (Akahat, 2019: 344 - 249) เพื่อแสดงให้เห็นผลการวิเคราะห์กลยุทธ์สำหรับใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานที่ดีของคณะกรรมการหมู่บ้านด้วยการวิเคราะห์แบบจับคู่ความสัมพันธ์แบบ SWOT Matrix (SWOT Matrix Analysis) เพื่อให้ได้กลยุทธ์ที่เป็นแนวทางการส่งเสริม การปฏิบัติงานที่ดีของคณะกรรมการหมู่บ้านในภารกิจ 1) ด้านการอำนวยการ 2) ด้านการปกครองและการรักษาความสงบเรียบร้อย 3) ด้านแผนพัฒนาหมู่บ้าน  4) ด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจ 5)…

Continue Readingการพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติงานที่ดีของคณะกรรมการหมู่บ้าน

คณะกรรมการหมู่บ้าน

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

พัฒนาการ “คณะกรรมการหมู่บ้าน” กำเนิดขึ้นตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1 พ.ศ. 2486 ในมาตรา 28 ตรี โดยกำหนดให้มีการจัดตั้ง “คณะกรรมการหมู่บ้าน” โดยเดิมกำหนดให้ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านรวมกันมีฐานะเป็น “คณะกรรมการหมู่บ้าน” มีหน้าที่เสนอข้อแนะนำและให้คำปรึกษาหารือในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน โดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นประธาน และยังกำหนดว่าการประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านต้องมีผู้มาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงจะเป็นองค์ประชุม และการชี้ขาดข้อปรึกษาของคณะกรรมการหมู่บ้านให้ถือเสียงข้างมากเป็นหลัก ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของ “คณะกรรมการหมู่บ้าน” ที่ได้มีส่วนในการบริหารหมู่บ้านอย่างบูรณาการมากขึ้นในช่วงหลังจากประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น (ปธาน สุวรรณมงคล, 2560: 159)  ต่อมาในปี พ.ศ. 2524…

Continue Readingคณะกรรมการหมู่บ้าน

การบริหารเงินคงคลังและเงินสะสมของท้องถิ่น

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

การอธิบายเงินคงคลังและเงินสะสมของท้องถิ่นนั้น สามารถอ้างอิงระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงินและการตรวจสอบเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 ซึ่งวางหลักเกณฑ์ปฏิบัติในเรื่องเกี่ยวกับการบริหารเงินคงคลังและเงินสะสมของ อปท. ไว้ซึ่งจะแยกอธิบายเป็นเงินคงคลัง และเงินสะสมของท้องถิ่นตามประเด็นดังนี้ เงินคงคลังท้องถิ่น หมายถึงเงินสดที่ถูกเก็บไว้ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือธนาคารเพื่อสามารถเบิกจ่ายเงินดังกล่าวใช้จ่ายในกิจการของท้องถิ่นอย่างสะดวก การเก็บรักษาเงิน กำหนดให้ อปท. นำเงินที่รับฝากธนาคารไว้ทั้งจำนวน หากฝากไม่ทันให้เก็บเงินในตูนิรภัยแล้ววันรุ่งขึ้นให้เจ้าหน้าที่การคลังให้นำฝากทั้งจำนวน หาก อปท. อยู่ไกลไม่สามารถฝากได้ทุกวันก็ให้ฝากในวันสุดท้ายของสัปดาห์แทน ส่วนในกรณีที่เป็นเงินสดที่ไม่สามารถนำฝากธนาคารได้ก็ให้เก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยและให้แต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงินอย่างน้อย 3 คน การเบิกเงิน ในการเบิกเงินมาใช้ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการนั้น หน่วยงานใน อปท. ต้องจัดทำแผนการเบิกจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายประจำปีทุก 3…

Continue Readingการบริหารเงินคงคลังและเงินสะสมของท้องถิ่น