การจัดการคลังสินค้า ตอนที่ 5

การรับสินค้าและการจัดเก็บสินค้า การรับสินค้า           การรับสินค้านั้นจะมีทั้งการรับวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ การรับสินค้าระหว่างการผลิตภายในกระบวนการผลิต รวมถึงการรับสินค้าสำเร็จรูปจากโรงงานผลิต ซึ่งการรับสินค้านี้จะเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่ต้องปฏิบัติเมื่อวัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิต หรือสินค้าสำเร็จรูปได้ส่งเข้ามายังคลังสินค้าเพื่อจัดเก็บรักษา การดำเนินกรรมวิธีในการแรกรับสินค้าที่ถูกส่งเข้ามาอย่างทันทีทันใดและถูกต้องแน่นอน ย่อมมีความสำคัญต่อการดำเนินงานคลังสินค้าที่มีประสิทธิผลและการเก็บรักษาเบื้องต้น รายละเอียดของการปฏิบัติงานรับสินค้าย่อมผิดแปลกกันออกไปตามรูปแบบของสินค้า และสิ่งอำนวยความสะดวกในการเก็บรักษา นอกจากนี้สินค้าที่รับเข้ามาอาจมาจากแหล่งที่ต่างกัน ยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสินค้ามายังคลังสินค้าก็แตกต่างกัน รวมถึงภาชนะบรรจุหีบห่อที่มีลักษณะแตกต่างกันไปตามรูปแบบของสินค้าอีกด้วย สิ่งเหล่านี้ย่อมมีผลทำให้รายละเอียดในการปฏิบัติงานรับสินค้าแตกต่างกันออกไปด้วย การจัดทำเอกสารในการรับสินค้า และการดำเนินกรรมวิธีแรกรับที่รวดเร็ว และถูกต้องย่อมมีความสำคัญและเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับกิจการคลังสินค้าที่มีประสิทธิผล ภารกิจการรับสินค้าคือ การดำเนินงานด้านเทคนิคและงานขององค์การที่เกี่ยวข้องกับการขนถ่าย การเก็บพักสินค้าชั่วคราว การแยก การบรรจุหีบห่อ การเตรียมพื้นที่สำหรับการจัดเก็บ การนำข้อมูลการรับสินค้าเข้าสู่ระบบคลังสินค้า เช่น การสแกน…

Continue Readingการจัดการคลังสินค้า ตอนที่ 5

การจัดการคลังสินค้า ตอนที่ 4

การวางผังคลังสินค้า กระบวนการวางผังคลังสินค้าเปรียบเสมือนการต่อจิ๊กซอว์ของภาพ ซึ่งการต่อจิ๊กซอว์นั้นต้องพิจารณาจิ๊กซอว์แต่ละชิ้นให้ชัดเจนก่อนที่จะต่อออกมาให้เป็นภาพ สำหรับกระบวนการวางผังคลังสินค้านั้นจิ๊กซอว์แต่ละชิ้นก็คือขั้นตอนที่ต้องดำเนินการให้เสร็จจึงจะได้ผังคลังสินค้าที่สมบูรณ์ โดยกระบวนการวางผังคลังสินค้าประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้    1. การวางแผนความต้องการด้านพื้นที่           เป็นการกำหนดขนาดพื้นที่ที่ต้องการสำหรับทุกกระบวนการปฏิบัติงานในคลังสินค้า ผังคลังสินค้าที่ดีควรพอดีกับพื้นที่ที่มีอยู่และสัมพันธ์กับแต่ละกิจกรรมในคลังสินค้าเป็นอย่างดี ขั้นตอนแรกในการวางผังคลังสินค้าคือ การหาขนาดพื้นที่ที่ต้องใช้ในการทำกิจกรรมทั้งหมด แต่ละกิจกรรมจะใช้พื้นที่เท่าไร เพื่อสรุปรวมออกมาเป็นพื้นที่ทั้งหมดที่ต้องการ           ตัวอย่างการกำหนดขนาดพื้นที่ที่ต้องใช้ในแต่ละกิจกรรม 1) กิจกรรมรับและจัดส่งสินค้า ต้องมีพื้นที่กองสินค้าเหล่านี้  ซึ่งพื้นที่กองสินค้านี้ต้องมีส่วนสัมพันธ์กับจำนวนประตูสำหรับรับและจัดส่งสินค้า และช่วงเวลาการวนรอบสำหรับแต่ละท่าด้วย วิธีปฏิบัติโดยทั่วไปทำได้โดยการจัดพื้นที่กองรอให้เพียงพออยู่ทางด้านหลังของแต่ละประตูท่าเพื่อให้ง่ายต่อการขนส่งวัสดุ 2) กิจกรรมเก็บและเบิกพาเลต การตัดสินใจวางแผนพื้นที่จัดเก็บคือ การประเมินความต้องการพื้นที่จัดเก็บที่เหมาะสมสำหรับช่วงที่มีความต้องการพื้นที่เก็บสูงสุด ถ้าช่วงเวลาที่ต้องการพื้นที่สูงสุดนั้นยาวนานและปริมาณความต้องการพื้นที่สูงสุดนั้นแตกต่างจากปริมาณความต้องการพื้นที่เก็บโดยเฉลี่ยมาก แสดงดังภาพที่ 13.7…

Continue Readingการจัดการคลังสินค้า ตอนที่ 4

การจัดการคลังสินค้าตอนที่ 3

การเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้า คลังสินค้าแต่ละประเภทและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเก็บรักษาสินค้าแต่ละแบบมีความแตกต่างกันทั้งลักษณะของการประกอบกิจการ ลักษณะรูปร่างของพื้นที่เก็บรักษา และลักษณะของสินค้าที่ต้องเก็บรักษา แม้กระทั่งภายในคลังสินค้าพื้นที่เก็บรักษาอาจต้องเปลี่ยนไปตามชนิดและปริมาณของสินค้าที่รับเข้ามาเก็บรักษา ดังนั้นการออกแบบคลังสินค้าจึงมีความจำเป็นเพื่อคลังสินค้าสามารถเก็บรักษาสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ การออกแบบคลังสินค้าในที่นี้ประกอบไปด้วยการเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าและการวางผังคลังสินค้า ซึ่งจะแสดงรายละเอียดในเรื่องที่ 13.2.1 และ 13.2.2 ตามลำดับ ทำเลที่ตั้งคลังสินค้าเป็นแหล่งที่ทำให้คลังสินค้าสามารถดำเนินงานได้อย่างสะดวก โดยคำนึงถึงผลกำไรและค่าใช้จ่าย โดยพื้นฐานของทำเลที่ตั้งคลังสินค้าคือ การหาแหล่งที่ทำให้เกิดต้นทุนรวมต่ำสุดเท่าที่เป็นไปได้ และในขณะเดียวกันก็ต้องเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดรายได้สูงสุดด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามการที่จะทำให้บรรลุผลทั้ง 2 ประการนั้นทำได้ยาก ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าจึงเป็นการเลือกทำเลที่เหมาะสมระหว่างต้นทุนกับกำไร ซึ่งก็คือแหล่งที่ทำให้เกิดจุดคุ้มทุนในระยะเวลาสั้นที่สุดนั่นเอง ความสำคัญของทำเลที่ตั้งคลังสินค้า           ทำเลที่ตั้งคลังสินค้ามีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการดำเนินการทางธุรกิจ ในด้านต่างๆ ดังนี้ 1. ความสำคัญต่อการวางระบบงาน ทำเลที่ตั้งคลังสินค้ามีความสำคัญต่อการวางระบบงานดังต่อไปนี้…

Continue Readingการจัดการคลังสินค้าตอนที่ 3