หลักการจัดการองค์การ

กล่าวได้ว่าแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการจัดการ ได้ถูกอ้างอิงมาตั้งแต่การนำเสนอหลักการของการแบ่งงานกันทำ (Division of Labor) โดย อดัม สมิธ (Adam Smith) ในหนังสือเรื่อง : The Wealth of Nations  (1776)  ที่เสนอหลักความได้เปรียบทางเศรษฐศาสตร์  โดยชี้ให้เห็นประโยชน์ที่ได้รับจากการแบ่งงานกันทำว่าจะทำให้เกิดความชำนาญเฉพาะด้าน (Specialization)  โดยยกตัวอย่างคนงานทำเข็มหมุด (Pin  Industry)  โดยใช้คนงาน 10 คน หากทำคนเดียวทุกกระบวนงาน อาจทำได้เพียง…

Continue Readingหลักการจัดการองค์การ

รูปแบบการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เป็นการนำสิทธิหรือทรัพย์สินของแผ่นดินไประดมทรัพยากรจากเอกชน ซึ่งรวมถึงการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพและทุนก้อนใหม่มาใช้ในการลงทุนและพัฒนากิจการของรัฐในอนาคต ซึ่งจะทำให้รัฐวิสาหกิจสามารถขยายงานและเพิ่มการให้บริการแก่ประชาชนมากขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ พร้อมทั้งมีการรับเทคโนโลยีใหม่ๆ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจมีหลายวิธี ดังต่อไปนี้ 1. สัญญาการบริหารจัดการ (Management Contracts) เป็นรูปแบบที่หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างและการดำเนินกิจการ ส่วนเอกชนจะเป็นผู้รับสิทธิในการดำเนินการบริหารจัดการ ซ่อม และบำรุงรักษาโดยได้รับค่าจ้างตามผลงานหรือเหมาจ่ายตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา อย่างไรก็ตาม หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบยังคงเป็นเจ้าของทรัพย์สิน มีอำนาจทางกฎหมายในการบริหารจัดการกิจการ และทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายต่างๆ วิธีนี้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินมิได้โอนไปเป็นของเอกชน สัญญาจ้าง (Contracting out) สามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ 1) จ้างเอกชนมาบริหารงานเฉพาะกิจกรรมที่ไม่ซับซ้อน เช่น…

Continue Readingรูปแบบการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

ความหมายของรัฐวิสาหกิจ

ในที่นี้ ผู้เขียนขอแบ่งความหมายของรัฐวิสาหกิจออกเป็น 3 แบบ คือ 1) ความหมายทั่วไป 2) ความหมายทางกฎหมาย และ 3) ความหมายตามที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศกำหนด ความหมายทั่วไป             คำว่า “รัฐวิสาหกิจ” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Public Enterprise” ความหมายโดยสรุป คือ             ในบทบัญญัติของกิจการซึ่งโอนมาเป็นของชาติอังกฤษ (British Nationalization) กล่าวถึงรัฐวิสาหกิจว่า หมายถึง “กิจการซึ่งบริการประชาชนทุกรูปแบบ และกิจการที่ทำนั้น ไม่ได้มุ่งหวังกำไรให้แก่ผู้ถือหุ้น…

Continue Readingความหมายของรัฐวิสาหกิจ