การวิเคราะห์งบการเงินสำหรับผู้บริหาร 2

3.การวิเคราะห์งบการเงินโดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน

ความสำคัญของอัตราส่วนทางการเงิน ปัญหาประการหนึ่งของงบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสด คือ จำนวนเงินแต่ละรายการในงบการเงินเป็นจำนวนเท่าใดจึงจะถือว่ามากหรือน้อย เช่น ธุรกิจหึ่งมีสินทรัพย์หมุนเวียน 10 ล้านบาท ผู้วิเคราะห์ไม่สามารถสรุปได้ว่ายอดนี้เป็นอย่างไร หรือไม่สามารถนำยอดเหล่านี้ไปเปรียบเทียบกับธุรกิจอื่นๆ ได้ ดังนั้น จึงควรวิเคราะห์รายการต่างๆ โดยนำไปเปรียยบเทียบกับรายการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีความหมายมากขึ้น เช่น ควรนำสินทรัพย์หมุนเวียนไปเปรียบเทียบกับหนี้สินหมุนเวียน เนื่องจากสินทรัพย์หมุนเวียนมีไว้เพื่อชำระหนี้สินหมุนเวียน เป็นต้น เครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์ในลักษณะนี้ คือ อัตราส่วนทางการเงิน

อัตราส่วนทางการเงิน คือ การนำรายการที่มีความสัมพันธ์กันมาเปรียบเทียบเพื่อให้มีความหมายมากขึ้น โดยรายการที่นำมาเปรียบเทียบจะเป็นรายการในงบเดียวกัน หรือต่างงบกันก็ได้ สำหรับการเปรียบเทียบรายการในงบเดียวกัน เช่น การนำกำไรสุทธอเปรียบเทียบกับยอดขาย หรือการนำยอดหนี้สินเปรียบเทียบกับ สินทรัพย์ ส่่วนการนเปรียบเทียบรายการต่างงบกัน เช่น การนำยอดขายมาเปรียบเทียบกับสินทรัพย์ เป็นต้น เมื่อนำรายการต่างๆ มาเปรียบเทียบแล้ว ผลลัพทธ์ที่ได้จะให้ความหมายที่มีประโยชน์กว่าการวิเคราะห์แต่ละ รายการแยกจากกันและในการวิเคราะห์อัตราส่วนควรมีการเปรียบเทียบกับอัตราส่วนในอดีตของกิจการอัตราส่วนของคู่แข่งขัน หรืออัตราส่วนของอุตสาหกรรม ซึ่งจะทำให้เกณฑ์ในการวิเคราะห์ที่ชุดเจนขึ้น

การวิเคราะห์โดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน โดยทั่วไปจะมีการวางเป้าหมายไว้ ได้แก่

1. เพื่อให้ทราบถึงความสามารถในการทำกำไรของกิจการและแนวโน้มในอนาคตและ

2. เพื่อให้ทราบถึงระดับความเสี่ยงของกิจการ ซึ่งประกอบด้วย ความเสี่ยงของกิจการ โดยดูได้จากความผันผวนของยอดขายและต้นทุนขายซึ่งจะกระทบต่อการทำกำไร ความเสี่ยงทางการเงิน เป็นการพิจารณาว่ากิจการมีความสามารถในการจา่ยเงินคืนหนี้สินมากน้อยเพียงใด หมายความว่า ถ้ากิจการไม่มีความสามารถในการจายคืนหนี้สินหรือดอกเบี้ย จะทำให้กิจการนั้นมีภาระผูกพันที่จะต้องหารายได้ในอนาคตมาจ่ายคืนและถ้าหารายได้มาไม่เพียงพอก็มีโอกาสล้มละลายและเสี่ยงด้านสภาพคล่อง จะดูว่ากิจการมีความสามารถในการระดมทุนจากภายนอกกิจการได้มากน้อยเพียงใด เช่น การกู้ยืมธนาคาร การออกหุ้นสามัญ หรือหุ้นกู้ เป็นต้น ถ้ากิจการมีความสามารถต่ำ โอกาศที่จะเปิดปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินก็จะมีสูง

ที่มา เอกสารประกอบการสัมมนา/อบรม อ.ดร.พิชัย เกิดทรัพย์