วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีอากร

จากการศึกษาข้อมูลพบว่าการจัดเก็บภาษีอากรมีวัตถุประสงค์หลักอยู่ 6 ประการ ดังนี้

          1) เพื่อเป็นรายได้ของรัฐ

เพื่อเป็นรายได้ของรัฐ เนื่องจากรัฐมีหน้าที่ต้องดูแลทุกข์สุข  และความเป็นอยู่ของประชาชนในด้านต่างๆ เช่น การศึกษา  การสาธารณสุข    การสังคมสงเคราะห์  การเคหะชุมชน   การศาสนา วัฒนธรรม  การสาธารณูปโภค  การเกษตร  การอุตสาหกรรม   การคมนาคม การรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง   การดูแลความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ  เพื่อป้องกันการรุกรานของข้าศึกศัตรูที่จะรุกรานประเทศ  เพื่อสนองนโยบายเร่งด่วนบางอย่างของรัฐ การจัดการอื่นๆ เป็นต้น 

          2) เพื่อกระจายรายได้ให้เป็นธรรม

ประชาชนไม่ควรจะมีรายได้และทรัพย์สินแตกต่างกันมาก  ประชาชนควรจะมีรายได้และทรัพย์สินเท่าเทียมกันหรือใกล้เคียงกัน การที่ประชาชนมีรายได้และทรัพย์สินแตกต่างกันมาก  แสดงถึงการกระจายรายได้และทรัพย์สินที่ไม่เป็นธรรม  การที่จะทำให้การกระจายรายได้และทรัพย์สินให้เป็นธรรมนั้น 

          3) เพื่อชำระหนี้สินของรัฐ

การพัฒนาประเทศเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ในแผนยุทธศาสตร์ของประเทศจำเป็นที่ต้องใช้เงินจำนวนมาก โดยรัฐบาลมีรายได้หลักจากการจัดเก็บภาษีเพื่อนำมาพัฒนาประเทศ แต่หากในบางครั้งนั้น รายรับไม่เพียงพอต่อรายจ่ายที่มีจึงทำให้เกิดการกู้ยืมเงินเกิดขึ้นเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ

          4) เพื่อควบคุมหรือส่งเสริมพฤติกรรมของเศรษฐกิจ

การจัดเก็บภาษีเพื่อควบคุมหรือส่งเสริมพฤติกรรมของเศรษฐกิจเช่น 1. การบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย ในกลุ่มของกระเป๋า รองเท้า เครื่องสำอาง เป็นต้น ซึ่งจัดเก็บโดยศุลกากรเพื่อต้องการให้ประชาชนลดการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟื่อยอีกทั้งกระตุ้นให้เกิดการบริโภคสินค้าที่ผลิตในประเทศ 2. การบริโภคสินค้าที่ทำลายสุขภาพ เช่น บุหรี่ ยาสูบ สุรา เป็นต้น อีกทั้งการจัดเก็บภาษีความหวานในเครื่องดื่มต่าง ๆ ที่มีส่วนผสมคือน้ำตาล โดยพระราชบัญญติสรรพสามิต มีแนวคิดมากจากรัฐบาลมีความกังวลการบริโภคสินค้าที่มีความหวานของประชาชนซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพในภาพรวม

          5) เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และ

รัฐบาลใช้ภาษีเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือในการควบคุมและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ เช่น 1. เศรษฐกิจภาวะเงินฝืด (Deflation) รัฐบาลมีมาตรการลดภาษีเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ใประชาชนใช้จ่ายกันมากขึ้นเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบเศรษฐกิจ2. เศรษฐกิจภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา

         6) เพื่อส่งเสริมทางเศรษฐกิจ การจัดเก็บภาษีเป็นเครื่องมือหนึ่งในการส่งเสริมเศรษฐกิจ เช่น 1. การส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (The Board of Investment of Thailand: BOI) ให้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3-8 ปี 2. การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของภาคเอกชน 3. โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) รัฐบาลมีมาตรการสนับสนุนให้ผู้ลงทุนเข้ามาพัฒนาโครงการนี้เพื่อให้เป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของประเทศ โดยรัฐได้พัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกคือ จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดฉะเชิงทรา

ที่มา อาจารย์เอมอร ปทุมารักษ์ อาจารย์เบญจมาศ จันอำรุง ในเอกสารการสอนชุดวิชา 30206 กฎหมายธุรกิจและการภาษีอากร