มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย 

บทบาทของวัดโพธิ์ในฐานะเป็นแหล่งรวบรวมภูมิปัญญาความรู้ของประเทศไทย เริ่มขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์ให้วัดนี้ เป็นแหล่งเล่าเรียนวิชาความรู้ของประชาชนทั่วไป โดยไม่เลือกชนชั้น อ้างอิงจากคำกล่าวของสุจิตต์ วงษ์เทศที่เขียนไว้ว่า “เรารู้จักคนต่างชาติต่างภาษา นอกไปจากจีนและบรรดาประเทศเพื่อนบ้านอื่นซึ่งเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ดังเห็นได้จากคำจารึกเป็นโคลงประกอบรูปหล่อ อยู่ตามศาลาราย 16 หลังของวัดโพธิ์ ว่าด้วยชนชาติต่าง ๆ 32 ภาษาด้วยกัน ใจความสำคัญกล่าวถึงเชื้อชาติ เครื่องแต่งตัว ถิ่นที่อยู่ ลักษณะพิเศษบางอย่างเกี่ยวกับธรรมเนียมประเพณีของมนุษยชาติเหล่านั้น” (อ้างจาก ศิลปวัฒนธรรม, 2564) ดังนั้น นอกจากการที่รัชกาลที่ 3 ได้ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์ครั้งใหญ่ และสร้างสิ่งสำคัญต่างๆ เพิ่มเติม เช่น พระวิหารแล้ว ในความรู้ด้านวิชาการสาขาต่าง ๆ เช่น ศาสนา ภาษา วรรณกรรม วัฒนธรรมประเพณี จิตรกรรม ประติมากรรม และการแพทย์ ก็ถูกนำมาเผยแพร่เพื่อให้คนทั่วไปเข้าไปเรียนรู้ได้ ซึ่งแตกต่างจากการหาความรู้ทั่วไปของคนในสมัยนั้นที่องค์ความรู้บางอย่าง เช่น ตำราหมอนวด ตำรายารักษาโรค ส่วนใหญ่มักจะมีการอบรมสั่งสอนกันเฉพาะภายในครอบครัว จึงได้ถูกนำมาเผยแพร่เพื่อเป็นความรู้แก่สาธารณชนที่สนใจ ตามพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ 3 ซึ่งต้องการให้วัดโพธิ์เป็นคลังความรู้ทั้งในด้านพุทธศาสตร์ อักษรศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ วิจิตรศิลป์ และความรู้รอบตัว และมีจารึกบันทึกไว้ใน 3 หมวดใหญ่ ได้แก่ หมวดอักษรศาสตร์ เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ และกลอน เป็นต้น หมวดแพทย์ศาสตร์ เช่น ตำรายารักษาโรค คุณสมบัติของสมุนไพร ตำราหมอนวด ซึ่งได้แสดงให้เห็นชัดโดยมีแผนภูมิที่ตั้งของเส้นต่างๆ และหมวดช่างฝีมือ เช่น ช่างเขียน แกะสลัก กลึง หล่อ ปั้น และเครื่องประดับ เป็นต้น วัดโพธิ์จึงกลายเป็นสถานที่เผยแพร่ความรู้ด้านต่าง ๆ ให้แก่สังคมของผู้คนยุคนั้นตลอดมาจากถึงปัจจุบัน จนได้รับการยกย่องให้เป็นเสมือนมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย

ภาพวัดพระเชตุพนฯ
ที่มา วัดโพธิ์ (2566)

แหล่งข้อมูล

กรณิศ รัตนามหัทธนะ. (2561). ตุ๊กตาหน้าวัด. สืบค้นจาก https://readthecloud

ศิลปวัฒนธรรม. (2564). วัดโพธิ์ เริ่มบทบาทเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศตั้งแต่เมื่อไหร่ สืบค้นจาก https://www.silpa-mag.com/history/article_69825

วรวิทย์ วิศินสรากร. (2537). วัดโพธิ์: ห้องสมุดประชาชนแห่งแรกของไทย. สารานุกรมศึกษาศาสตร์ 13(2537): 98-102.

วัดโพธิ์. (2566). เกร็ดประวัติวัดโพธิ์. สืบค้นจาก https://watpho.com/th/history