Scope of Merging PM,PA and CM  (1)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

การทบทวนขอบเขตของการดำเนินการบริหารโครงการ (Project Management : PM) และการจัดการโครงการ (Project Administration:PA) มีบริบทและนัยสำคัญที่แตกต่างกันอย่างไร

มุมมอง Overviewการบริหารโครงการ (PM) มุ่งเน้นภาพรวม กลยุทธ์ วัตถุประสงค์การจัดการโครงการ (PA) มุ่งเน้นรายละเอียด ภาพย่อย ในรูปแบบกิจกรรม การดำเนินงาน
หน้าที่ Dutiesการกำหนดทิศทาง การวางแผนงานโครงการ การควบคุมคุณภาพรวมการจัดการรายละเอียด บริหารทรัพยากรโครงการ การดำเนินการตามแผนงาน
ทักษะ Skillsทักษะความเป็นผู้นำ ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการตัดสินใจลงรายละเอียด ทักษะการจัดการเฉพาะหน้า ทักษะการประสานงาน และการติดตามผลการดำเนินการ

กล่าวได้ว่า การบริหารโครงการ เป็นเรื่องของการกำหนดกลยุทธ์ วางแผนงาน กำหนดเป้าหมาย ควบคุมงบประมาณ สำหรับการจัดการโครงการจะลงในรายละเอียด โดยเฉพาะการจัดทำตารางงาน การบริหารทีมงาน จัดซื้อจัดหาวัสดุและอุปกรณ์ ตลอดจนการติดตามความคืบหน้า

ทั้งนี้ส่วนของ Technical Terms ที่ปรากฏ

  • ขอบเขตของโครงการ (Project Scope)  การกำหนดงาน กิจกรรม ผลลัพธ์ที่ต้องส่งมอบ
  • ตารางเวลางานหรือกำหนดการดำเนินโครงการ (Project Schedule)  ระบุเวลาเริ่มต้น สิ้นสุด รวมทั้งระยะเวลารวมและส่วนย่อยของแต่ละกิจกรรม
  • งบประมาณโครงการ (Project Budget) เกี่ยวข้องกับกำหนดค่าใช้จ่าย รายรับ กำไรขาดทุน
  • ทรัพยากรที่ใช้ในโครงการ (Project Resources) เกี่ยวข้องในส่วน 5 M โดยเฉพาะ  บุคลากร อุปกรณ์ วัสดุ เงินทุน และวิธีการดำเนินการ
  • ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในโครงการ (Project Risk)  การระบุและวิเคราะห์ความเสี่ยว การบรรเทาความเสี่ยงตลอดจนการหาวิธีป้องกันความเสี่ยง

การบริหารโครงการและการจัดการโครงการมีความสัมพันธ์กัน อย่างไรก็ตามพบว่ามีบริบท มุมมองและหน้าที่แยกต่างหากจากกัน กล่าวคือ การบริหารโครงการมุ่งเน้นภาพรวม กลยุทธ์ วัตถุประสงค์ ส่วนการจัดการโครงการมุ่งเน้นรายละเอียด กิจกรรม การดำเนินงาน ทั้งสองอย่างมีความสำคัญต่อความสำเร็จของการดำเนินโครงการ

อย่างไรก็ตามขอบเขตของการบริหารโครงการก่อสร้างมีความครอบคลุม

ตั้งแต่ ระยะเริ่มต้นของการดำเนินโครงการ (Inception Stage) โดยขั้นตอนแรกของกระบวนการพัฒนาโครงการ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ยังคงปรากฏความผันผวน ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงระหว่างกระบวนการตัดสินใจทางธุรกิจ และ/หรือการดำเนินโครงการทั้งภาครัฐและเอกชน ที่อาจยังไม่นิ่งโดยเฉพาะในส่วนของข้อกำหนดและความต้องการใดๆ ขั้นตอน Inception ยืนยันถึงความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นความต้องการทางธุรกิจหรือทางสังคม ซึ่งต้องการการพัฒนาทางทุน และสิ้นสุดลงด้วยการตัดสินใจของผู้ลงทุนในการดำเนินการประเมินความเป็นไปได้ของการพัฒนาโครงการ โดยในขั้นตอนนี้อาจยังคงเป็นกระบวนการที่เป็นทางเลือกของผู้ลงทุน หรือเจ้าของโครงการอย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับลักษณะและบริบทของเจ้าของโครงการ ซึ่งคาดว่าจะเป็นผู้ลงทุนและดำเนินการโครงการต่อไป ในที่นี้ยังปรากฏความซับซ้อนในการกำหนดความต้องการของเจ้าของโครงการ (Project Owner/Investor)  ที่ในช่วงนี้อาจมีความจำเป็นสำหรับการว่าจ้างโดยใช้บริการของที่ปรึกษาด้านการจัดการหรือที่ปรึกษาวิชาชีพ ที่อาจเป็นภายในหรือภายนอกองค์กรธุรกิจหรือองค์กรไม่แสวงหารายได้หากเป็นโครงการก่อสร้างของภาครัฐ สำหรับส่วนของ Design Stage ในการบริหารโครงการก่อสร้างคือ ขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบโครงการโดยตรง ซึ่งรวมถึงการพัฒนาแผนการก่อสร้าง การสร้างแบบรูปเพื่อการก่อสร้าง ตลอดจนรายละเอียด (Specification) เกี่ยวกับโครงการ ทั้งนี้จากแผนภาพที่กำหนดจะเห็นว่าอยู่ภายใต้ขอบเขตของการบริหารโครงการ ยังไม่ใช่ขอบเขตของการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการงานก่อสร้าง (Construction Management) ซึ่งจะเริ่มต้นจาก Procurement Stage หรือเรียกโดยรวมว่า ขั้นตอนของการจัดซื้อจัดจ้าง การกำหนดช่วงของการดำเนินการก่อนการดำเนินการก่อสร้าง (Pre-Con Stage) ที่ถือเป็นขั้นตอนการเตรียมการที่สำคัญที่เกิดขึ้นก่อนเริ่มงานก่อสร้างจริง ประกอบด้วย

  • การกำหนดและวางแผนโครงการ การกำหนดเป้าหมาย ขอบเขต และงบประมาณของการดำเนินโครงการ
  • การออกแบบทางวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมที่ระบุรายละเอียดเพิ่มเติมมากยิ่งขึ้นใน    เชิงลึกเกี่ยวกับโครงการโดยเฉพาะ
  • การขอใบอนุญาตก่อสร้างและการอนุมัติดำเนินโครงการจากภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • การวิเคราะห์และเตรียมพื้นที่ดำเนินโครงการ ทำการสำรวจพื้นที่ก่อสร้างเพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการดำเนินการก่อสร้าง ตลอดจนการพิจารณาเพื่อประเมินปัญหาอุปสรรคและวิธีการแก้ไขตลอดจนทางเลือกในแต่ละแนวทางการดำเนินการ
  • การจัดทำงบประมาณและประมาณการค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะการประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโครงการ เพื่อจัดหาเงินทุนและส่วนของ Contingency หรือเงินทุนสำรองเผื่อไว้สำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด

โดยทั่วไป Contingency อยู่ที่ 5-10% ของงบประมาณโครงการ ขึ้นกับบริบทของการดำเนินโครงการ การรองรับค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่เกิดขึ้นจากปัญหาที่ไม่คาดคิด เช่น ภัยธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงราคาตลอดจน ปัญหาของการออกแบบ รวมทั้งข้อจำกัดหรือการกำหนดเงื่อนไขของการรักษากำหนดระยะเวลาการดำเนินโครงการและงบประมาณของโครงการ รวมทั้งความเสี่ยงต่อความล่าช้าหรือการหยุดชะงักของโครงการ

  • การจัดตั้งทีมงานโครงการ การกำหนดเงื่อนไขและแนวทางสำหรับการว่าจ้างและจัดตั้งทีมโครงการ รวมไปถึงสถาปนิก วิศวกร ผู้รับเหมา และผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ

การวางแผนอย่างรอบคอบและจัดการรายละเอียดทั้งหมดในช่วงก่อนการก่อสร้าง ช่วยให้การก่อสร้างดำเนินโครงการก่อสร้างเป็นไปอย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพ สามารถบรรเทาความเสี่ยงจากปัญหาความล่าช้า และปัญหาอื่นๆจากการดำเนินโครงการที่ไม่คาดคิดในภายหลัง ในตอนต่อไปจะกล่าวถึง Scope ของการดำเนินการส่วนที่เหลือ คือ Construction Stage, Prepare for Taking-over Stage, Taking-over Stage and Maintenance Period ในบริบทที่เกี่ยวข้องตอนสุดท้ายต่อไป พิจารณาตามภาพประกอบที่ 1

ภาพที่ 1 Scope of Project Management

เอกสารประกอบการบรรยายวิชา Cost Management for Real
Estate Development Project by Asst.Prof.Dr.Nattasit Chaisaard

อ้างอิง

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (Engineering Institute of Thailand :EIT)