You are currently viewing สถานการณ์ธุรกิจโลจิสติกส์ไทย เดือนกรกฎาคม 2566

สถานการณ์ธุรกิจโลจิสติกส์ไทย เดือนกรกฎาคม 2566

การพัฒนาโลจิสติกส์ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานที่มุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ในปี 2579 โดยการยกระดับศักยภาพโลจิสติกส์ทั้งระบบ และเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจบริการโลจิสติกส์ ผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางของโลจิสติกส์ในอนุภูมิภาคและภูมิภาคอาเซียน มุ่งสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูงและพร้อมเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2579 นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานในภาคขนส่งที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมุ่งเน้นให้ต้นทุนระบบโลจิสติกส์ของประเทศอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ในระดับสากล

โดยคาดว่าในปี 2566 ภาคโลจิสติกส์ของไทยจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยเรื่องการผ่อนปรนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก ประกอบกับการส่งออกสินค้าที่ขยายตัว รวมถึงธุรกิจ e-Commerce ที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องเพิ่มทางเศรษฐกิจในกิจกรรมโลจิสติกส์และธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ของประเทศไทยในภาพรวม

อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมสถานการณ์ธุรกิจโลจิสติกส์ไทย เดือนกรกฎาคม 2566 เป็นดังนี้

  • ธุรกิจโลจิสติกส์มีจำนวนนิติบุคคลรวม 41,442 ราย โดยเปิดกิจการใหม่ 309 ราย เพิ่มขึ้น 17.9% และปิดกิจการ 79 ราย เพิ่มขึ้น 5.3% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
  • การลงทุนจากต่างประเทศในธุรกิจโลจิสติกส์ (มิ.ย. 2566) มูลค่า 4,355.99 ล้านบาท คิดเป็น 12.58% ของการลงทุนในกลุ่มโลจิสติกส์ในประเทศไทย สัญชาติที่มีการลงทุนมากที่สุด ได้แก่ จีน สิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน ตามลำดับ
  • ประเด็นโอกาส: WLP ดูไบกับโอกาสของภาคบริการโลจิสติกส์ของไทย
  • ประเด็นความท้าทาย: จับตาเศรษฐกิจจีนชะลอตัว
  • ประเด็นสำคัญ: ความท้าทายของโลจิสติกส์สินค้าอาหารและเกษตรอินทรีย์ (ORGANIC FOOD)

ซึ่งโอกาสของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทยยังมีมาก ไม่ว่าจะเป็นเส้นทาง BRI เปิดโอกาสทางการค้าในภูมิภาคอาเซียน มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะใน ลาว เวียดนาม กัมพูชา และไทย เมื่อสำเร็จแบบไร้รอยต่อแล้ว จะเกิดมูลค่าเพิ่ม และกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับภูมิภาคในภาพรวมอย่างมาก โดยเฉพาะประเทศสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) หรือโลจิสติกส์สำหรับขนส่งสินค้าฮาลาล ซึ่งเป็นตลาดเฉพาะกลุ่มและมีโอกาสขยายตัวสูง ตลาดโลจิสติกส์ฮาลาล (Halal Logistics) เป็นตลาดที่มีความน่าสนใจ ซึ่งธุรกิจโลจิสติกส์เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การส่งออกของสินค้าฮาลาลไทยขยายตัว หากผู้ประกอบการไทยสามารถศึกษาการจัดการสินค้าตามหลักฮาลาล (กองนโยบายการสร้างความเข้มแข็งทางการค้า, 2566)