ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)

ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่อยู่ภายนอกตัวบุคคล มีรูปแบบเป็นทางการ มีความเป็นระบบเชิงเหตุและผล และง่ายต่อการทำความเข้าใจ นอกจากนั้นยังสามารถจัดเก็บ รวบรวม บันทึก และถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรได้ง่าย เช่น เอกสาร คู่มือ หนังสือ วารสาร บทความวิจัย และวีดีทัศน์ต่างๆ (Allameh & others, 2014; Cook & Cook, 2005; Holste & Fields, 2012; Panahi, Watson, & Partridge, 2012) ความรู้ที่ชัดแจ้งเป็นความรู้ที่มีการจัดเก็บเป็นระบบ และผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย เช่น การจัดการฐานข้อมูล และการจัดการระบบความรู้ในห้องสมุด (น้ำทิพย์ วิภาวิน, 2547) นอกจากนั้นยังหมายรวมถึงความรู้เชิงปรนัยที่ได้จัดทำเป็นเอกสารเรียบร้อยแล้ว โดยใช้ภาษาที่เป็นทางการ สามารถถ่ายโอนความรู้จากบุคคลหนึ่งไปสู่บุคคลหนึ่งได้ง่าย การทำความรู้เชิงปรนัยให้เป็นความรู้ที่ชัดแจ้งจึงเป็นกุญแจสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์ของการจัดการความรู้ในองค์การ (ทอดด์ อาร์. กรอฟฟ์ และโทมัส พี. โจนส์, 2555, อุไรวรรณ แย้มแสงสังข์, ผู้แปล ; Allameh & others, 2014)

เอกสารอ้างอิง
1) ทอดด์ อาร์. กรอฟฟ์, & โทมัส พี. โจนส์. (2555). การจัดการองค์ความรู้เบื้องต้น. แปลจาก Introduction to Knowledge Management: KM in Business. แปลโดย อุไรวรรณ แย้มแสงสังข์. กรุงเทพฯ: ไอกรุ๊ป เพรส.
2) น้ำทิพย์ วิภาวิน. (2547). การจัดการความรู้กับคลังความรู้. กรุงเทพฯ: เอสอาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
3) Allameh, S. M., Pool, J. K., Jaberi, A., & Soveini, F. M. (2014). “Developing a model for examining the effect of tacit and explicit knowledge sharing on organizational performance based on EFQM approach”. Journal of Science & Technology Policy Management, 5(3), 265-280.
4) Cook, J. S., & Cook, L. (2005). “Promoting organizational knowledge sharing” Innovations of Knowledge Management (pp. 300-321). Hershey PA: IRM Press.
5) Holste, S. J., & Fields, D. (2012). “Trust and tacit knowledge sharing and use”. Journal of Knowledge Management, 14(1), 128-140.
6) Panahi, S., Watson, J., & Partridge, H. (2012). “Social media and tacit knowledge sharing: Developing a conceptual model”. World Academy of Science, Engineering and Technology, 64, 1095-1102.