การวิเคราะห์เชิงวินิจฉัย (Diagnostic analytics)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

การวิเคราะห์เชิงวินิจฉัย เป็นการวิเคราะห์เพื่อช่วยผู้บริหารวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้น โดยหาสาเหตุของปัญหาหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อตอบคำถามที่ว่า “Why it happened ทำไมจึงเกิดขึ้น หรือทำไมจึงเป็นเช่นนั้น” ทำให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ (insight) ถึงเหตุผล หรือปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ การวิเคราะห์เชิงวินิจฉัยสามารถทำได้ดังนี้

  • การใช้เทคนิคเชิงคณิตศาสตร์และเชิงสถิติ ในการทำ Profiling เช่น สำรวจหารายการค้าที่ผิดปกติ หรือเปรียบเทียบข้อมูลที่สนใจกับค่าเฉลี่ยหรือค่ามาตรฐาน เป็นต้น
  • การวิเคราะห์เชิงวินิจฉัยในลักษณะการจัดกลุ่ม (Clustering) ข้อมูล เช่น การจัดกลุ่มลูกหนี้แยกตามอายุหนี้ จะทำให้ทราบว่ากลุ่มลูกหนี้ที่เป็นปัญหาค้างชำระนาน เป็นต้น
  • การใช้วิธีการจับคู่ความคล้ายคลึงกัน (Similarity matching) ซึ่งนิยมใช้กันในระบบการขายสินค้าออนไลน์ เมื่อลูกค้าเลือกสินค้าชนิดหนึ่งขึ้นมา ระบบจะแนะนำสินค้าที่มีความคล้ายคลึงมาให้ เช่น ลูกค้าสุภาพสตรีเลือกชุดทำงานจากยี่ห้อหนึ่ง ระบบจะนำเสนอสินค้าที่คล้ายกันนี้เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจ เป็นต้น
  • การวิเคราะห์เชิงวินิจฉัยจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามมาจากกลุ่มที่สนใจเหมือนกัน (Co-occurrence Grouping) เช่น ลูกค้าที่ซื้อไฟฉาย มักซื้อถ่านไฟฉายไปด้วย ดังนั้น ระบบจึงแนะนำสินค้าไฟฉายและถ่านไฟพร้อมกันไปด้วย เป็นต้น

ในที่นี้จะแสดงตัวอย่างลักษณะการจัดกลุ่มข้อมูลเป็นตัวอย่างการจัดกลุ่มลูกหนี้แยกตามอายุหนี้ ดังภาพที่ 1