การใช้ Call Options สำหรับผู้นำเข้า

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ถ้าผู้นำเข้า สั่งซื้อสินค้าจากสหรัฐอเมริกา และมีความเห็นว่าค่าเงิน USD มีแนวโน้มจะอ่อนค่าลงกว่าระดับปัจจุบัน แต่ยังเกรงว่าค่าเงิน USD อาจแข็งค่าขึ้น จึงต้องการลดความเสี่ยงนี้ ด้วยการซื้อ Call Options  หรือสิทธิที่จะซื้อ เงิน USD ที่ระดับ Strike Rate ดังนั้น หาก USD แข็งค่าขึ้นในอนาคต จนสูงกว่า  Strike Rate ก็ควรเลือกที่จะใช้สิทธิที่จะซื้อ

การซื้อ Call Options  สำหรับผู้นำเข้า จึงเปรียบเสมือนเป็นการซื้อหลักประกันว่าจะสามารถซื้อเงิน USD ได้ไม่สูงกว่า Strike Rate ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้ผู้นำเข้าสามารถซื้อได้ที่อัตราแลกเปลี่ยนที่ต่ำกว่านั้น หากอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดต่ำกว่าอัตราใช้สิทธิ ซึ่งผู้ซื้อออปชันสามารถกำหนด  Strike Rate ได้ แต่ก็จะมีผลกับค่าธรรมเนียมที่ผู้ซื้อจะต้องจ่ายให้กับธนาคาร

    ****กล่าวโดยสรุป ยิ่ง Strike Rate ต่ำ ค่าธรรมเนียมสำหรับ Call Options ยิ่งสูง*******

ตัวอย่าง บริษัทแนทตี้ จำกัด ได้สั่งซื้อสินค้าจากสหรัฐอเมริกา โดยจะต้องจ่ายเงินสำหรับการนำเข้าครั้งนี้ จำนวน USD 1,000,000 ในอีก 3 ดือนข้างหน้า ผู้บริหารของบริษัทฯ ได้ทำการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนของเงิน USD โดยการซื้อคอลออปชัน (Call Options) ที่จะซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐจำนวน USD 1,000,000 ในราคาใช้สิทธิ (Strike Price) USD-THB = 30.50 มีกำหนดระยะเวลาใช้สิทธิ 3 เดือน ธนาคารคิดค่าธรรมเนียม (Option Premium) USD-THB = 0.50  เมื่อครบ 3 เดือน อัตราแลกเปลี่ยนทันที (Spot Rate) USD-THB = 30.65 / 31.45

Rounded Rectangle: บริษัทแนทตี้ จำกัด ควรเลือกใช้สิทธิที่จะซื้อเงินตราต่างประเทศ หรือไม่
Text Box: ถ้าใช้สิทธิที่จะซื้อ (Call Options) :
ซื้อโดยใช้สิทธิ    $1,000,000 x 30.50     =  30,500,000 บาท
บวก ค่าธรรมเนียม  $1,000,000 x 0.50  =      500,000 บาท
รวมจ่ายเงินทั้งสิ้น	                      =  31,000,000 บาท
Rounded Rectangle: แต่ถ้าซื้อในตลาด
=$1,000,000x31.45 = 31,450,000 บาท
บวก ค่าธรรมเนียม(Option Premium)                                 =       500,000 บาท
รวมจ่ายทั้งสิ้น	           =  31,950,000 บาท
Text Box: จะเห็นว่า การใช้สิทธิที่จะซื้อ  จ่ายเงินน้อยกว่า การซื้อที่อัตราแลกเปลี่ยนในตลาด 
เป็นจำนวนเงิน 950,000 บาท
ดังนั้น ควรเลือกใช้ Call Options