การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

                การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ เป็นการวิเคราะห์คุณภาพของหุ้นกู้ว่ามีโอกาสมากน้อยเพียงใดที่ผู้ออกหุ้นกู้จะผิดนัดชาระหนี้ ซึ่งจะทำการจัดอันดับโดยสถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ซึ่งในระดับสากลจะมีสถาบันจัดอันดับชั้นนำอยู่ 3 แห่ง ที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก ได้แก่ Moody Investment Service (Moody’s), Standard & Poor’s Corporation(S&P), และ Fitch Ratings สำหรับสถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่สำคัญของไทยได้แก่ TRIS Rating

                สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือจะทำการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆเพื่อวิเคราะห์คุณภาพของกิจการ ว่ามีความสามารถในการสร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีกำไรเพียงพอที่จะชำระดอกเบี้ย และมีความสามาถจะไถ่ถอนคืนหุ้นกู้เมื่อครบกำหนดได้หรือไม่ แล้วกำหนดเป็นระดับความน่าถือของหุ้นกู้ โดยหุ้นกู้ที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด (มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ต่ำที่สุด) จะให้เกรด AAA จนไปถึงหุ้นกู้ที่มีความน่าเชื่อถือน้อยที่สุด (มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้สูงที่สุด) จะให้เกรด D โดยหุ้นกู้ที่จัดเป็นหุ้นกู้สำหรับการลงทุน คือหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงในระดับปานกลางหรือต่ำกว่า หรือมีอันดับความน่าเชื่อถือ BBB ขึ้นไป ส่วนหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูงกว่าระดับปานกลางขึ้นไป หรือมีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่า BBB จะเป็นหุ้นกู้เก็งกำไร ไม่เหมาะสำหรับการลงทุนระยะยาว

                การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้จะกำหนดให้หุ้นกู้ที่จะเสนอขายต่อประชาชนทั่วไป (Public Offering) จะต้องทำการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ที่จะเสนอขายก่อน ส่วนหุ้นกู้ที่เสนอขายให้ผู้ลงทุนในวงจำกัด (Private Placement: PP) ไม่ได้มีข้อบังคับให้ต้องจัดอันดับความน่าเชื่อถือก่อนเสนอขาย เนื่องจากเป็นการเสนอขายให้แก่นักลงทุนที่เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่มีความรู้ และเป็นนักลงทุนที่คาดหวังผลตอบแทนสูงและยอมรับความเสี่ยงได้สูงเช่นกัน