วัตถุประสงค์และคุณค่าของการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน การเรียนรู้โดยใช้โครงงาน เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการใช้ปัญหาจริง เป็นการเรียนรู้และวิธีแสวงหาความรู้บนพื้นฐานแนวคิดของ John Dewey ที่เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากการปฏิบัติจริง (Learning by Doing) จะประกอบด้วย การรู้ (Knowing) และ การลงมือกระทำ (Doing) ความรู้และความสามารถในการใช้ความรู้นั้นๆ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ในการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมกับความรู้ใหม่ แล้วสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้ผ่านกระบวนการแก้ไข ปัญหา พัฒนาทักษะในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง วิธีการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนจะมอบหมายให้ผู้เรียนทำงานเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม เพื่อทุกคนได้แก้ไขปัญหา ค้นคว้า และอาจเป็นการสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง…

Continue Readingวัตถุประสงค์และคุณค่าของการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน

การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน (Project-based Learning) นับเป็นหนึ่งในรูปแบบของการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาจเรียกชื่อที่แตกต่างกันไป เช่น การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ทั้งนี้ในที่นี้จะเรียกว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน โครงงานหรือโครงการ (Project) ซึ่งต่อไปในที่นี้ใช้คำว่า โครงงาน หมายถึง กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้า และลงมือปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัด และ ความสนใจ โดยปฏิบัติอย่างเป็นระบบ ภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาของผู้สอน ตั้งแต่การเตรียมความพร้อม การกำหนดและเลือกหัวข้อโครงงาน การเขียนข้อเสนอโครงงาน การวางแผน การดำเนินการ การออกแบบลงมือปฏิบัติ รวมทั้งร่วมกำหนดแนวทางในการวัดผลและประเมินโครงงาน…

Continue Readingการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน

การเจรจาต่อรองด้านการจ้างงานก่อสร้าง

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

          การเจรจาต่อรองด้านการจ้างงาน เป็นกระบวนการเจรจาร่วมกันของฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง เพื่อกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างงาน ผ่านขั้นตอนและวิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมาย ด้วยความมุ่งหมายที่จะให้ทั้งสองฝ่ายนั้นตกลงกันได้(ทิพวรรณ บุณย์เพิ่ม, 2558)           การเจรจาต่อรองด้านการจ้างงานนับว่าเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ดีอย่างหนึ่ง ที่มีผลทำให้เกิดการประนีประนอมระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้างงานและปัญหาในการปฏิบัติงาน ทำให้บรรเทาความรุนแรงในการเผชิญกับข้อขัดแย้งทางด้านแรงงาน รวมทั้งยังเป็นการกระจายรายได้ให้แก่ลูกจ้างอย่างเป็นธรรมอีกด้วย           เหตุผลที่จำเป็นต้องมีการเจรจาต่อรองด้านการจ้างงาน มีดังนี้คือ กระบวนการเจรจาต่อรองและผลจากการเจรจาต่อรองนั้นก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างลูกจ้างและนายจ้างการเจรจาต่อรองเป็นทางออกที่ดีทางหนึ่งของการแก้ไขข้อพิพาททางด้านแรงงานที่สังคมยอมรับในปัจจุบันยังไม่มีวิธีใดที่ดีกว่าการเจรจาต่อรอง ที่ทำให้ทราบถึงความต้องการและเหตุผลที่แท้จริงของฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง ในการรักษาผลประโยชน์ทั้งของตนและของทั้งสองฝ่าย วัตถุประสงค์ในการเจรจาต่อรองด้านการจ้างงาน           การเจรจาต่อรองร่วมกันระหว่างฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง แบ่งวัตถุประสงค์ออกเป็น 2 ลักษณะ คือ วัตถุประสงค์ตามความต้องการของฝ่ายนายจ้าง และวัตถุประสงค์ตามความต้องการของฝ่ายลูกจ้าง           1.…

Continue Readingการเจรจาต่อรองด้านการจ้างงานก่อสร้าง