Teaching to be a genius like Davinci ตอน2: การพัฒนาการเรียนรู้ของสมอง ด้วยแนวคิด Brain Based Learning โดย อ.ดร.สุปัญญดา สุนทรนนธ์

ความหมายของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน             การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เป็นแนวความคิดของนักประสาทวิทยาและนักการศึกษา กลุ่มหนึ่ง ที่สนใจการทำงานของสมองมาประสานกับการจัดการศึกษา โดยนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสมองมาใช้เป็นเครื่องมือในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของมนุษย์แต่ละช่วงวัย สมองมนุษย์เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดที่มนุษย์ต้องใช้ในการเรียนรู้ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญหรือนักวิชาการต่างได้ให้นิยาม หรือแนวทางที่แตกต่างกัน ดังนี้             เคน และเคน (Caine and Caine. 1989 : Web Site) อธิบายว่า การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่อยู่บนพื้นฐานของโครงสร้างและหน้าที่การทำงานของสมองหากสมองยังปฏิบัติตามกระบวนการทำงานปกติการเรียนรู้ก็ยังจะเกิดขึ้นต่อไป ทฤษฎีนี้เป็นสหวิทยาการเพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุดซึ่งมาจากงานวิจัยทางประสาทวิทยา           …

Continue ReadingTeaching to be a genius like Davinci ตอน2: การพัฒนาการเรียนรู้ของสมอง ด้วยแนวคิด Brain Based Learning โดย อ.ดร.สุปัญญดา สุนทรนนธ์

สอนเป็นจีเนียสอย่างดาวินชี (Teaching to be a genius like Davinci) ตอน1 : ความฉลาดที่หลากหลาย (Multiple Intelligence) ของมนุษย์ โดย อ.ดร.สุปัญญดา สุนทรนนธ์

แนวการสอนแบบพหุปัญญา  (Multiple Intelligences) พหุปัญญา (Multiple Intelligences) หมายถึง ปัญญาหลากหลายด้านของมนุษย์ ซึ่งเป็นการอธิบายความสามารถของสมองมนุษย์แต่ละคนว่า สามารถแสดงศักยภาพด้านใดออกมาบ้าง เงื่อนไขสำคัญของการสร้างความฉลาดให้เด็กในแต่ละด้านคือ ทำพื้นฐานการเรียนรู้ จดจำ และเข้าใจ ผ่านประสาทสัมผัสที่ครบทั้ง 6 ช่องทาง ทั้งนี้ ผู้ใหญ่จำนวนมากเข้าใจว่า เด็กเรียนรู้ผ่านตา (เห็นภาพ รูปทรง สี ตำแหน่ง ตัวหนังสือ ฯลฯ) กับหู (ได้ยินเสียง รับคลื่น ฯลฯ)…

Continue Readingสอนเป็นจีเนียสอย่างดาวินชี (Teaching to be a genius like Davinci) ตอน1 : ความฉลาดที่หลากหลาย (Multiple Intelligence) ของมนุษย์ โดย อ.ดร.สุปัญญดา สุนทรนนธ์

HRD Tip 5: มีแค่ “ทำ หรือ ไม่ทำ”: เมื่อความพยายาม ไม่ใช่คำตอบ! โดย อ.ดร.สุปัญญดา สุนทรนนธ์

วันหนึ่งในห้องสัมมนา วิทยากรถาม พวกเราว่า... “เราจำได้ไหม?ว่า...เรื่องไหนคือความสำเร็จที่เราภาคภูมิใจที่สุด” คนส่วนมากรวมทั้งก้อยด้วย ก็มักตอบได้กับคำถามนี้ แต่พอเจอคำถามถัดมาว่า... แล้วจำได้ไหม?... “แล้วมีเรื่องอะไรไหม ที่อีกนิดเดียว เราก็จะทำได้จนสำเร็จ แล้วเราก็จะได้ภาคภูมิใจไปกับมัน?” คนในห้องสัมมนาเงียบไป ไม่ค่อยมีใครอยากตอบข้อนี้เลย เอ้อ...โค้ชค่ะ จะถามไปทำไมกันเนี่ย...มันก็มีทุกคนล่ะค่ะ แต่เราแค่ไม่อยากจำ จะจำทำไมให้ปวดหัว ปวดใจล่ะเนี่ย (ก้อยคิดในใจ ไม่ได้พูดออกไปหรอกนะคะ ฮะฮ่า ) ที่น่าสนใจมากกว่า 2 คำถามนั้น ก็คือ คำถามต่อมาค่ะ แล้วพวกเราคิดว่า... “เกิดอะไรขึ้นกับชีวิตเราเองบ้าง…

Continue ReadingHRD Tip 5: มีแค่ “ทำ หรือ ไม่ทำ”: เมื่อความพยายาม ไม่ใช่คำตอบ! โดย อ.ดร.สุปัญญดา สุนทรนนธ์