แรงกดดันที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมในองค์กรภาครัฐ

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ความไม่แน่นอนของสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมในองค์กร แรงกดดันหรือแรงกระตุ้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการสร้างนวัตกรรมในองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ในกรณีขององค์กรภาครัฐตามทัศนะของOsborne, (1998) สามารถแบ่งแรงกระตุ้นที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมได้เป็นสองประเภทคือ หนึ่ง แรงกระตุ้นจากการเมือง(Political Imperative) เป็นแรงกระตุ้นที่เกิดขึ้นเฉพาะในองค์กรภาครัฐซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายทำให้เกิดแรงผลักดันในการสร้างนวัตกรรมในการบริหารและให้บริการจัดการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ใหม่ของนโยบาย และ สอง แรงกระตุ้นจากการถูกจับตาดูผลงาน(Conspicuous production impetus) แรงกระตุ้นนี้เกิดจากการที่ประชาชนคาดหวังที่จะได้รับการบริการสาธารณะที่มีประสิทธิภาพจากองค์กรภาครัฐดังนั้นองค์กรภาพรัฐจึงจำเป็นต้องใช้นวัตกรรมเป็นตัวแทนความสำเร็จในผลงานสื่อออกไปให้กับผู้รับบริการหรือประชาชนได้รับทราบ ยกตัวอย่างเช่น นโยบาย one-stop-service ทำให้เกิดนวัตกรรมทางการให้บริการคือการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้มาติดต่องานราชการให้สามารถรับบริการจากหน่วยราชการต่างๆได้ภายในที่แห่งเดียวโดยไม่จำเป็นต้องไปติดต่อหลายๆแห่ง การติดต่องานราชการเป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพผ่านระบบอินเตอร์เน็ตโดยอาศัยระบบสำนักงานบริการเสมือนจริง ลดค่าใช้จ่ายของทั้งภาครัฐและประชาชน

Continue Readingแรงกดดันที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมในองค์กรภาครัฐ

แนวคิดองค์กรสุขภาวะ (Healthy organization)

 เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานและผลการปฏิบัติงานที่ดีแนวคิดองค์กรสุขภาวะจึงให้ความสำคัญกับผลการปฏิบัติงานควบคู่ไปกับความสุขในการทำงานด้วย โดยใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานในองค์กรที่มีเป้าหมายและยุทธศาสตร์สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร สถาบันคุณภาพแห่งชาติ ประเทศแคนาดา (National Quality Institute of Canada) กำหนดปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดองค์กรสุขภาวะไว้ 3 มิติ ได้แก่ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (Occupational health and safety) สุขภาวะบุคคล (Personal health practices) และวัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture of the workplace) โดยปัจจัยทั้ง 3…

Continue Readingแนวคิดองค์กรสุขภาวะ (Healthy organization)

ความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิต

การพัฒนาคุณภาพชีวิตมีความสำคัญหลายประการ ดังนี้               2.1 ความปรารถนาอันสูงสุดของมนุษย์ คือ การมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้น แต่ละบุคคลจึงพยายามที่จะพัฒนาตนเองและสังคมไปสู่เป้าหมายที่ปรารถนา ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา การมีอาชีพ มีรายได้ มีคุณธรรมและจริยธรรม รวมถึงการรู้จักบริหารตนเอง ซึ่งหากทุกคนสามารถปฏิบัติได้เช่นนี้ ก็เท่ากับว่าสามารถช่วยยกระดับทั้งของตนเองและของสังคมให้มีคุณค่า มีความเจริญงอกงาม พัฒนาไปสู่สังคมอุดมคติ ปัญหาต่าง ๆ ในสังคมและลดลงหรือหมดไป เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาอาชญากรรม ปัญหามลภาวะเป็นพิษ เป็นต้น               2.2 ในยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีการแข่งขันด้านเศรษฐกิจอย่างรุนแรง…

Continue Readingความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิต