แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการกำหนดมูลค่าหลักทรัพย์ (3)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ทฤษฎีการประเมินมูลค่าทางตรง (Direct Valuation Theory) พัฒนาขึ้นโดย Holthausen และ Watts (2001) ทฤษฎีนี้อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงมูลค่าตลาดส่วนของผู้ถือหุ้น เกิดจากการที่นักลงทุนได้รับข้อมูลหรือความรู้ที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับกำไรต่อหุ้นและมูลค่าตามบัญชีส่วนของผู้ถือหุ้นของธุรกิจ ทฤษฎีนี้ยังยืนยันว่าข้อมูล  ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจไม่เพียงแต่ได้มาจากงบการเงินหรือรายงานทางการเงิน แต่ยังรวมถึงข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ ด้วย ดังนั้น มูลค่าของกิจการในปัจจุบันหรือการคาดการณ์มูลค่าของกิจการในอนาคต สามารถอธิบายได้ด้วยตัวแปรต่างๆ มากมาย ทั้งที่ปรากฎและไม่ปรากฎอยู่ในงบการเงินหรือรายงานทางการเงิน  ในกรณีที่ปรากฎว่าข้อมูลที่เป็นตัวเงินไม่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจหรือความสามารถในการกำหนดมูลค่าหลักทรัพย์ลดลงหรือหายไป หรือข้อมูลที่ปรากฎในงบการเงินหรือรายงานทางการเงินที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในตลาดได้รับไม่เพียงพอ บุคคลเหล่านั้นจึงมองหาแหล่งข้อมูลอื่นเพื่อประกอบการตัดสินใจ ข้อมูลดังกล่าวเรียกว่า ข้อมูลที่ไม่เป็นตัวเงิน การวิจัยทางบัญชีในประเด็นความเกี่ยวข้องในการกำหนดมูลค่าหลักทรัพย์ จึงจำเป็นต้องค้นหาตัวแปรที่สามารถอธิบายความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม ดังนั้น หน่วยงานกำกับดูแลต่างๆ…

Continue Readingแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการกำหนดมูลค่าหลักทรัพย์ (3)

แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการกำหนดมูลค่าหลักทรัพย์ (2)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ตลาดที่มีประสิทธิภาพ (Efficient Market) หมายถึง ตลาดที่ราคาของหลักทรัพย์ที่ทำการซื้อขายสามารถปรับตัวสะท้อนถึงข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ได้อย่างรวดเร็ว สมมติฐานเกี่ยวกับความมีประสิทธิภาพของตลาด (Efficient Market Hypothesis: EMH) Fama (1970) ได้แบ่งประเภทสมมติฐานเกี่ยวกับความมีประสิทธิภาพของตลาดออกเป็น 3 ระดับตามข้อมูลข่าวสารที่นักลงทุนใช้ในการวิเคราะห์มูลค่าที่แท้จริงของหลักทรัพย์ ดังนี้     2.1 ตลาดที่มีประสิทธิภาพในระดับต่ำ (Weak Form) หมายถึง ตลาดที่นักลงทุนใช้เพียงข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับราคาและมูลค่าการซื้อขายของหลักทรัพย์ในอดีต     2.2 ตลาดที่มีประสิทธิภาพในระดับปานกลาง (Semi-strong Form) หมายถึง ตลาดที่นักลงทุนใช้ข้อมูลสาธารณะทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ในการวิเคราะห์มูลค่าที่แท้จริงของหลักทรัพย์…

Continue Readingแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการกำหนดมูลค่าหลักทรัพย์ (2)

แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการกำหนดมูลค่าหลักทรัพย์ (1)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดมูลค่าหลักทรัพย์ที่จะอธิบายในที่นี้ ประกอบด้วย (1) ลักษณะเชิงคุณภาพของรายงานทางการเงินหรืองบการเงิน (2) ตลาดที่มีประสิทธิภาพ และ (3) ทฤษฎีการประเมินมูลค่าทางตรง สำหรับใน Post นี้จะกล่าวถึงประเด็นที่ (1) ก่อน ส่วนประเด็นที่เหลือจะได้อธิบายใน Post ต่อไป ลักษณะเชิงคุณภาพของรายงานทางการเงินหรืองบการเงิน ตามกรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน (2563) กำหนดลักษณะเชิงคุณภาพไว้ 2 ส่วนคือ (1) ลักษณะเชิงคุณภาพพื้นฐาน (Fundamental Qualitative Characteristic) และ (2)…

Continue Readingแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการกำหนดมูลค่าหลักทรัพย์ (1)