บทบาทตัวแสดงในภาคีเครือข่ายการบูรณาการแก้ไขปัญหาวิกฤติโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ระลอกแรก ในพื้นที่ อบต. เวียง อ.เทิง จ.เชียงราย

จากการศึกษาของผู้เขียนเกี่ยวกับบทบาทตัวแสดงในภาคีเครือข่ายการบูรณาการแก้ไขปัญหาวิกฤติโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงได้มีภาคีเครือข่ายต่างๆ เข้ามีส่วนเกี่ยวข้องในการร่วมมือเพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในระลอกแรก ปรากฏข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้ 1. หน่วยงานทางด้านสาธารณสุข ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเทิง โรงพยาบาลเทิง และโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ได้ดำเนินการตรวจคัดกรองผู้ป่วยในพื้นที่ มีการแนะนำให้ผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วยได้กักตัวตามหลักการสาธารณสุข ซึ่งจากการให้ข้อมูลของสาธารณสุขอำเภอเทิงเกี่ยวกับการร่วมมือในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่ อบต. เวียง ได้ข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้ “...ในช่วงที่เกิดวิกฤตแล้วมีความสับสนวุ่นวาย ทางนายกฯ อบต. ได้ประสานผมไปเพื่อขอเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่จะสามารถอธิบายให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่เข้าใจแนวทางการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ซึ่งตอนนั้นผมมอบหมายท่านผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอออกมาช่วยท่านนายกฯ และท่านนายกฯ เนี๊ยะเป็นคนขับรถ เพราะท่านต้องการสร้างความมั่นใจให้กับพี่น้องประชาชน ทุกวันที่มีการดำเนินการเสร็จแล้ว…

Continue Readingบทบาทตัวแสดงในภาคีเครือข่ายการบูรณาการแก้ไขปัญหาวิกฤติโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ระลอกแรก ในพื้นที่ อบต. เวียง อ.เทิง จ.เชียงราย

การรับมือโควิด-19 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในระลอกแรก

ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในระลอกแรก ถือเป็นการรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นครั้งแรกเช่นเดียวกัน ก่อนหน้านี้จะเห็นว่าบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการรับมือกับโรคระบาดต่าง ๆ เช่น ไข้เลือดออก พิษสุนัขบ้า ไข้หวัดใหญ่ หรือบทบาทในการรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น อุทกภัย วาตภัย และอัคคีภัย หากแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในครั้งนี้นับเป็นเรื่องใหม่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่เคยดำเนินการมาก่อน ซึ่งเป็นการดำเนินบทบาทในการรับมือและการจัดการกับภัยพิบัติทางชีวภาพหรือภัยพิบัติทางด้านสาธารณสุขในระดับชุมชน ดังนั้นประเด็นดังกล่าวนี้นำไปสู่การสำรวจบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการวิกฤติท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในระลอกแรกที่ผ่านมานี้ว่ามีกลไกการบริหารจัดการในระดับท้องถิ่นอย่างไรบ้าง ดังนี้ ประมาณเดือนมกราคม 2563 ภายหลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศยกระดับการรับมือกับไวรัสโควิด-19 ครั้งใหญ่เพื่อป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสทั่วประเทศ โดยออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินให้ทุกฝ่ายเตรียมพร้อมรับมืออย่างทันท่วงที ประเด็นสำคัญต่อมาคือ เริ่มเห็นคำสั่ง มาตรการ และข้อปฏิบัติต่าง…

Continue Readingการรับมือโควิด-19 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในระลอกแรก

โครงสร้างการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในภาวะวิกฤติโควิด-19

หากย้อนดูโครงสร้างการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในภาวะวิกฤติโควิด-19 จะเห็นโครงสร้างการบริหารราชการที่มีความซ้อนกันอยู่หลายชั้น กล่าวคือ ภายหลังจากที่นายกรัฐมนตรีได้ใช้อำนาจตามกฎหมายพิเศษตามมาตรา 7 และมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 รวมถึงมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 เพื่อควบคุมสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตเลือกตั้งทั่วราชอาณาจักรแล้วนั้น กฎหมายพิเศษฉบับนี้ยังให้อำนาจนายกรัฐมนตรีสามารถจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ย่อยในด้านต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งหนึ่งใน ศบค. ย่อยเหล่านั้นที่จัดตั้งขึ้นมาเพิ่มเติม นั่นก็คือ “ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย หรือมีชื่อว่า ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19…

Continue Readingโครงสร้างการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในภาวะวิกฤติโควิด-19