The Element of Planning

The Element of Planning: องค์ประกอบของการวางแผน การวางแผนมีองค์ประกอบหลายประการด้วยกัน โดยหากมีองค์ประกอบต่างๆครบถ้วนได้มากเพียงใดก็สามารถที่จะนำไปสู่การวางแผนที่ดีได้มากขึ้น ซึ่งการวางแผนที่ดีนั้นควรมีองค์ประกอบตามลักษณะที่สำคัญ ซึ่งสามารถพิจารณาได้ ดังนี้ 1. การวางแผนเป็นกระบวนการ (Process) การวางแผนเป็นกิจกรรมต่อเนื่องที่จะต้องกระทำติดต่อกันไปเป็นระยะๆ โดยไม่ให้ขาดตอนหรือหยุดนิ่ง ทั้งนี้ เพราะแผนจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ การเป็นกระบวนการ ยังมีความหมายถึงการผสมผสานกันอย่างได้สัดส่วนขององค์ประกอบต่างๆ ที่เป็นปัจจัยนำเข้าของระบบซึ่งได้แก่ทรัพยากรต่างๆ รวมทั้งพลังงานที่ช่วยให้ทรัพยากรนำเข้าดังกล่าวจัดรูปความสัมพันธ์และเกิดปฏิกิริยาที่ทำให้บรรลุเป้าหมายต่อไป 2. การตระเตรียม (Preparing) การตระเตรียมเป็นการเตรียมข้อมูล บุคลากร ตลอดจนทรัพยากรต่างๆ สำหรับการวางแผน…

Continue ReadingThe Element of Planning

The Nature of Planning

The Nature of Planning: ธรรมชาติของการวางแผน ธรรมชาติของการวางแผนนั้น มีลักษณะเป็นกระบวนการ โดยจุดเริ่มต้นของกระบวนการวางแผนเริ่มจากการกำหนดวัตถุประสงค์ กลยุทธ์และรายละเอียดของแผน เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ภายใต้กระบวนการนี้จะต้องทำการจัดตั้งองค์การขึ้นมาสำหรับรับผิดชอบการตัดสินใจ การนำแผนไปปฏิบัติ รวมทั้งการทบทวนผลจากการปฏิบัติตามแผน และผลกระทบนี้เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และการปรับปรุงวงจรการวางแผนใหม่ ซุนวู กล่าวว่า “ไม่รู้เขา ไม่รู้เรา ร้อยรบ ก็จักพ่าย รู้เขา รู้เรา ร้อยรบ ก็จักชนะ” นับว่าเป็นแนวคิดที่อมตะในการนำมาใช้ในการบริหารองค์การทุกประเภท เนื่องจากเป็นต้นกำเนิดเกี่ยวกับแนวคิดการวางแผนเพื่อกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนขององค์การทั้งภาครัฐและเอกชน การวางแผน ไม่ใช่การตัดสินใจในอนาคต…

Continue ReadingThe Nature of Planning

The Strategic Plan Process

The Strategic Plan Process: กระบวนการของแผนยุทธศาสตร์ แผนยุทธศาสตร์ประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญ คือ การกำหนดยุทธศาสตร์ การนำยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ และการประเมินผลยุทธศาสตร์ การกำหนดยุทธศาสตร์ เมื่อวิสัยทัศน์และพันธกิจชัดเจนเป็นที่ยอมรับแล้ว ขั้นตอนต่อมา คือ การกำหนดยุทธศาสตร์ การกำหนดยุทธศาสตร์ควรมีความสอดคล้องกับแนวโน้มที่สำคัญที่ระบุไว้ในการวิเคราะห์ศักยภาพปัจจัยภายในและภายนอกองค์การด้วย โดยพิจารณาโอกาสสำคัญที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมแล้วหาวิธีการที่จะใช้จุดแข็งขององค์การให้ได้ประโยชน์และพิจารณาจุดอ่อนขององค์การ รวมทั้งการพิจารณาถึงภาวะคุกคามที่สำคัญ ใช้จุดแข็งในการป้องกันตัวหรือนำไปใช้ในโอกาสอื่นที่เกิดขึ้น การกำหนดยุทธศาสตร์ มีขั้นตอน ดังนี้ 1)  การพัฒนาวิสัยทัศน์และพันธกิจ องค์การจะต้องจัดให้มี วิสัยทัศน์และระบุพันธกิจไว้อย่างชัดเจน ในระบบงบประมาณแบบใหม่ที่เรียกว่า การงบประมาณที่มุ่งเน้นผลงาน หรือ PBB…

Continue ReadingThe Strategic Plan Process