นโยบาย: การสงเคราะห์หรือสิทธิ

นอกจากประเด็นทางหลักการที่แตกต่างกันแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากคือ ผู้ที่ได้รับประโยชน์ที่แท้จริงในทางปฏิบัติ เป็นที่น่าสังเกตว่า นโยบายที่ใช้งบประมาณเพื่อ “ผู้ด้อยโอกาส” จำนวนมากเป็นการสนับสนุนช่วยเหลือผู้ที่ได้เปรียบ ยกตัวอย่างเช่น โครงการจำนำข้าว กับโครงการประกันราคาข้าว ในรัฐบาลนี้ โครงการที่เรียกว่า “ประชารัฐ” ในทางปฏิบัติแล้วกลับพบว่าเป็นการนำเงินไปอุดหนุนผู้ที่ได้เปรียบโดยผ่านมือ “ผู้ด้อยโอกาส”การอุดหนุนค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน แต่ผูกการรับและใช้จ่ายเงินที่เฉพาะเจาะจงการอุดหนุนการผลิตด้วยการให้เงินชดเชยส่วนที่ใช้จ่ายหรือส่วนที่ขาด ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทันทีคือ ธุรกิจและกลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่มจะเป็นผู้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการใช้จ่ายหรือการสนับสนุนดังกล่าวทั้งในรูปแบบของการซื้อขายสินค้าและบริการ ในรูปแบบของการรักษาการเอารัดเอาเปรียบต่อไปได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะถูกผู้ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบเรียกร้องส่วนแบ่งอันควรได้โดยตรงจากธุรกิจ เงินที่รัฐบาลนำไปแจก ไหลกลับไปสู่กลุ่มทุนที่เชื่อมโยงกับรัฐบาล เงินที่รัฐบาลนำไปอุดหนุนส่วนต่างหรือส่วนที่ขาด ทำให้พ่อค้านักธุรกิจสามารถตั้งราคาสูงกินส่วนต่างแพงโดยไม่ต้องปรับปรุงคุณภาพบริการหรือราคา ทั้งหมดนี้คือการทำให้ผู้ที่ได้เปรียบอยู่แล้วได้รับประโยชน์ เป็นการนำภาษีของประชาชนทุกคนในประเทศไปอุดหนุนธุรกิจหรือกลุ่มคนบางกลุ่มในนามของการให้ความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส

Continue Readingนโยบาย: การสงเคราะห์หรือสิทธิ

การบริหารราชการไทยกับฟาสซิสม์

ฟาสซิสม์เป็นระบอบการปกครองที่มีบทบาทต่อการเมืองโลกในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ได้รับความนิยมสูงในประเทศอิตาลี เยอรมันและญี่ปุ่น แม้ว่าต่อมาระบอบนี้จะพ่ายแพ้ต่ออุดมการณ์คอมมิวนิสม์และทุนนิยมแต่ลักษณะเด่นบางประการของฟาสซิสม์ก็ยังคงได้รับการจดจำและกล่าวถึงกระทั่งในปัจจุบัน อุดมการณ์ฟาสซิสม์เป็นอุดมการณ์ที่มีการถกเถียงกันมากว่าอะไรคือลักษณะเฉพาะตัวของฟาสซิสม์ จากการที่ฟาสซิสม์มีลักษณะลื่นไหลตีความได้หลากหลายและหลายครั้งมีความย้อนแย้งทำให้นักวิชาการบางท่านถึงกับกล่าวถึงนิยามฟาสซิสม์ว่า “เป็น A และไม่ใช่ A” แม้ว่าฟาสซิสม์จะมีข้อถกเถียงในเรื่องนิยามหลายเรื่องแต่ก็เป็นที่ยอมรับกันว่ามีลักษณะบางอย่างที่หลอมรวมเป็นฟาสซิสม์ ได้แก่ การมองอนาคตในแง่ร้าย ไม่อดกลั้น ไม่เสรีนิยม กึ่งศาสนา ยึดถือประชาชนเป็นองค์รวมมากกว่าปัจเจก มีศัตรูคือสังคมนิยม คอมมิวนิสต์ ทุนนิยม ทั้งนี้ลักษณะเฉพาะตัวที่โดดเด่นที่สุดของฟาสซิสม์คือ การชูชาติเหนือสิ่งอื่นใดหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นชาตินิยมที่ล้นเกิน (ultranationalism) และเน้นการขับเคลื่อนประเทศจากสังคมมากกว่ากลไกรัฐดังนั้นจึงมุ่งเผยแพร่ครอบงำอุดมการณ์ในสังคมด้วย จากลักษณะของฟาสซิสม์ดังที่กล่าวมาข้างต้นเมื่อมองย้อนมาที่แบบแผนการบริหารราชการไทยเกือบทศวรรษที่ผ่านมาก็จะพบว่ามีข้อสังเกตถึงลักษณะร่วมกัน ได้แก่ การมองอนาคตในแง่ร้ายที่หวาดกลัวความก้าวหน้าและความเป็นสากลอันเกิดจากการเคลื่อนไหวของเยาวชนรุ่นใหม่ที่ผู้หลักผู้ใหญ่เชื่อว่าจะนำพาประเทศไปในทิศทางที่คิดว่าเสื่อม การไม่อดกลั้นต่อความเห็นต่างของประชาชนที่รัฐไม่เพียงแต่จะใช้กลไกการปราบปรามของรัฐกดปราบแต่ยังมีความพยายามจัดตั้งองค์กรทางสังคมมาปะทะ ไม่เสรีนิยมจากการที่รัฐลิดรอนสิทธิเสรีภาพของปัจเจกบุคคลทั้งโดยกฎหมายและโดยกำลัง…

Continue Readingการบริหารราชการไทยกับฟาสซิสม์

หลีกเลี่ยงการคัดลอกวรรณกรรมได้อย่างไร

การหลีกเลี่ยงการลอกเลียนทางวรรณกรรมที่ง่ายที่สุดคือ การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล และให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่ผู้อ่านในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลเหล่านั้นทุกครั้ง ซึ่ง The learning Centre, The University of New South Wales (2011) ได้เสนอวิธีการเลี่ยงการลอกเลียนทางวรรณกรรมว่า (1) ผู้เขียนจะต้องพึงตระหนักถึงการใช้คำหรือความคิดของผู้อื่นในงานเขียนของตนโดยต้องอ้างอิงอยู่เสมอ (2) วางแผนการเขียนผลงานโดยให้เวลาอย่างเหมาะสม ไม่ใช้เวลารีบเร่งกระทั่งเวลากลายเป็นตัวบีบบังคับให้ต้องพึ่งผลงานของผู้อื่นในงานเขียนของตนเองมากเกินไป (3) อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้ทั้งหมดให้ถูกต้องตามรูปแบบการอ้างอิงทางวิชาการ (4) เรียนรู้วิธีการผนวกรวมงานของผู้อื่นในผลงานของตนเอง ด้วยการสรุป (summarizing) และถอดความ (paraphrasing) แนวคิดด้วยถ้อยคำของตนเองเพื่อแสดงความเข้าใจของผู้เขียน (5)…

Continue Readingหลีกเลี่ยงการคัดลอกวรรณกรรมได้อย่างไร